SDG 2

Sep
26

เปิดตัวเครื่องจักรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษเหลือทิ้งน้ำมันมะพร้าว

การแถลงข่าวการพัฒนานวัตกรรมเครื่องจักรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษเหลือทิ้งน้ำมันมะพร้าว วันที่ 25 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมเฉวง ชั้น 3 วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดโดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และวิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย นายเอกพงษ์ มุสิกะเจริญ ผอ.กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงานเเถลงข่าว กล่าวว่า ตามที่ท่าน รมว.อว. มีนโยบายด้านการวิจัยและนวัตกรรม คือ “วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” เน้นประเด็นสำคัญของประเทศ ได้แก่ Go Green พอเพียง ความยั่งยืน (Sustainability) ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) พลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI) […]

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 1 . SDG 13 . SDG 17 . SDG 2 . SDG 9
DETAIL
Aug
01

ติดตั้งเครื่องอัดขึ้นรูปขุยมะพร้าวหวังเพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือทิ้งจากเปลือกมะพร้าว เกาะสมุยติดตั้งเครื่องอัดขึ้นรูปขุยมะพร้าว

วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เอ็มเทค สวทช.) ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ รองคณบดีวิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย พร้อมด้วย คณาจารย์และบุคลากร พบปะพูดคุยอัพเดทการดำเนินงานการพัฒนาสร้างเครื่องจักรที่เพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือทิ้งจากเปลือกมะพร้าว เกาะสมุย ร่วมกับ ดร.ศุภกิจ วรศิลป์ชัย นักวิจัย ทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ พร้อมคณะทำงาน ทีมวิจัยได้ทำการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษเหลือทั้งจากน้ำมันมะพร้าว เพื่อใช้ในการแปรรูป โดยเครื่องจักรที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถแปรรูปเปลือกมะพร้าวให้กลายเป็นวัสดุทดแทนในไม้ซึ่งอยู่ในรูปของถาด โดยในการขึ้นรูปถาดนั้นใช้เวลาประมาณ 3 นาทีต่อชิ้น หรือประมาณ 38,000 ชิ้นต่อปี คิดเป็นมูลค่าทดแทนถาดพลาสติกได้ 1,520,000 บาท และเป็นการ upcycle เปลือกมะพร้าวโดยไม่ต้องเผาได้ราว 11 ตันต่อปี นับเป็นปริมาณ carbon capture ได้ประมาณ 16 กรัมต่อขึ้น หรือประมาณ […]

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 12 . SDG 17 . SDG 2
DETAIL
Jul
12

วสก.ต้อนรับ มูลนิธิชัยพัฒนา เซ็นทรัล กรุ๊ป และภาคีเครือข่าย ร่วมประชุมติดตามโครงการด้านการจัดการขยะร่วมกับภาคีเครือข่าย

11 กรกฎาคม 2567 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ รองคณบดีวิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล มูลนิธิชัยพัฒนา คุณพิชัย จิราธิวัฒน์ เซ็นทรัล กรุ๊ป และภาคีเครือข่ายลงพื้นที่ร่วมประชุมติดตามโครงการด้านการจัดการขยะร่วมกับภาคีเครือข่าย หารือแนวทางในการดำเนินการจัดการขยะบนเกาะสมุย ร่วมต่อยอดการพัฒนาให้นำไปสู่การเป็น Samui Zero Waste ต่อไป ณ ห้องประชุมละไม ชั้น 2 วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย อีกทั้งยังนำชมเครื่องสำหรับย่อยขยะเศษอาหาร ที่จัดตั้ง ณ วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย จำนวน 2 เครื่อง ได้แก่ Cowteg และ Bio-Digester ซึ่งมีการดำเนินการย่อยขยะเศษอาหารมากว่า 3 ปี โดยมีเทศบาลนครเกาะสมุยดำเนินการส่งขยะเศษอาหารมาที่วิทยาลัยทุกวัน ซึ่งนับว่าเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในการช่วยสนับสนุน การเป็น Samui Zero Waste

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 12 . SDG 17 . SDG 2
DETAIL
Mar
29

COCO Life มะพร้าวชาวเกาะ

วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย อาจารย์ศันศนีย์ วงศ์สวัสดิ์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และวิสาหกิจชุมชนเสน่ห์สมุย จัดงาน COCO Life มะพร้าวชาวเกาะ งานที่นำเสนอความรู้ ภูมิปัญญา การละเล่น ความร่วมมือ และเสิร์ฟความอร่อยที่ล้วนมาจากมะพร้าวสมุย ในวันพฤหัสที่ 28 มีนาคม 2567 ณ ลานกิจกรรม วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกษตรลิปะน้อย หมู่ 4 ต.ลิปะน้อย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย-การแสดงโนราห์จงดี และกวีนิพนธ์ทิดหมุย-ฐานภูมิปัญญามะพร้าว ที่มีทั้งอาหารคาว หวาน และสนุกสนานด้วยการละเล่น #ควายพรก-เสวนา “พร้าวหมุย รากฐานจากอดีต สู่ ฐานรากเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยคนรุ่นใหม่ และกลุ่มองค์กรที่สร้างเศรษฐกิจจากมะพร้าวสมุย-กะลาบำบัด เพื่อการดูแลสุขภาพ-ท้าแยกขยะกับ #แก๊งค์เด็กพิชิตขยะ ที่จะชวนทุกคนร่วมสร้างกิจกรรม Zero Waste-ชวนประชันพลังในการแข่งขันเดินกะลา เป่าปี่ใบมะพร้าว-ช้อปสินค้าชุมชน โดยมีเงื่อนไขว่าคุณต้องนำถุงแบบใช้ซ้ำ กระเป๋า หรือถุงผ้ามาใส่สินค้าด้วยตนเอง และในครั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐ […]

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 17 . SDG 2
DETAIL
Aug
29

กิจกรรมอบรมทำความเข้าใจทำความรู้จักเกษตรอินทรีย์และการรับรองความเป็นเกษตรอินทรีย์

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว พร้อมด้วย บุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมอบรมทำความเข้าใจทำความรู้จักเกษตรอินทรีย์และการรับรองความเป็นเกษตรอินทรีย์ เทคนิคการทำเกษตรอินทรีย์ การผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อย่างถูกต้องร่วมกัน จัดโดย สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ณ สวนนายแดง ต.หน้าเมือง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี กิจกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เชื่อมโยงเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค บนห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ ตอบโจทย์ปัญหา เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพสุราษฎร์ธานี ซึ่งโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มีเครื่อง COW TEC และ เครื่อง Bio Digester ที่สามารถผลิตน้ำ EM ที่มีคุณภาพ และสารปรับปรุงดินคุณภาพสูง เพื่อทางมหาวิทยาลัยได้นำออกสู่ชุมชนต่อไป

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 17 . SDG 2
DETAIL
Aug
17

ประชุมติดตามและประเมินผลรายงานฉบับสมบูรณ์ (Bio digester)

17 สิงหาคม 2566 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ร่วมกับ ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และนายวรุณ วารัญญานนท์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมติดตามและประเมินผลรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ การบริหารจัดการขยะอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนเกาะสมุยและเป็นชุมชนต้นแบบด้านความมั่นคงด้านอาหาร ภายใต้แผนงานวิจัย ความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมี คุณสุภิญญา ศรีทองกุล รองนายกเทศบาลนครเกาะสมุย เป็นประธาน ในการประชุมผู้วิจัยได้สรุปผลรายงานการดำเนินงานในการทดลองใช้งานเครื่อง Bio Digester ในการบริหารจัดการขยะอาหารในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีชุมชมและสถานประกอบการในอำเภอเกาะสมุยเข้าร่วมรับฟังการรายผลในครั้งนี้ #BioDigester #บริหารจัดการขยะ#เกาะสมุย

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 17 . SDG 2
DETAIL
Jun
18

เครือข่ายสมุยสีเขียวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

วันที่ 17-18 มิ.ย.2566 มูลนิธิภาคใต้สีเขียว ร่วมกับ บ้านบูมบ๊อกซ์รีสอร์ท และบริษัทเก็บตะวัน จัดกิจกรรมอบรมพลังงานสีเขียว เพื่อเกาะสมุยสีเขียว เพื่อแลกเปลี่ยนการจัดการดิน น้ำ ลม ไฟ บนพื้นที่เกาะในแนวทางรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน ในช่วงเสวนาแลกเปลี่ยน “พลังงานสีเขียว เพื่อร่วมสร้างงโลกคาร์บอนต่ำ” นายนลวัชร์ ขุนลา ได้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนแนวทางการดูแลดินโดยการลดละเลิกการใช้สารเคมีการเกษตรหันมาใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ที่ได้น้ำหมักชีวภาพจากเครื่อง CAWTEC ซึ่งยังมีส่วนช่วยในการลดขยะอาหารของเกาะสมุย โดยต้นแบบของโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยรายภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งการทำงานของเครื่อง CAWTEC ยังสามารถผลิตเเก๊ส นำไปใช้ในการทำอาหารได้อีกด้วย พลังงานสีเขียว #ภาคใต้สีเขียว #เกาะสมุยสีเขียว #greenenergy #wasteenergy

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 2 . SDG 7
DETAIL
Sep
29

ประชุม Update แลกเปลี่ยนการทำงาน ประสบการณ์ บทเรียน สร้างความร่วมมือ

28 กันยายน 2565ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว พร้อมด้วย นายนลวัชร์ ขุนลา เข้าร่วมการประชุม หารือ หน่วยงาน องค์กรฯ ทำงานการจัดการขยะเกาะสมุย และ ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อ Update แลกเปลี่ยนการทำงาน ประสบการณ์ บทเรียน สร้างความร่วมมือในการจัดการขยะเกาะสมุย จากที่โครงการจัดตั้ง สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินโครงการ Zero Wase Station และ Farm to Table ตลอดเรื่อยมา และมีแผนการดำเนินงานการจัดการขยะ ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเครื่อง Bio Digester ในอนาคต โดยวันนี้ได้มาร่วมแชร์ ผลการดำเนินงานเรื่องการจัดการขยะกับองค์กร WWF และหน่วยงานเทศบาลเพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันๆ ในการแก้ไขปัญหาขยะบนพื้นที่เกาะสมุย ณ ห้องประชุมมุกสมุย เทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี #เทศบาลนครเกาะสมุย#WWF#จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย#โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย#มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 2
DETAIL
Jun
24

วนช.สมุย ร่วมอบรมการแปรรูปขยะอินทรีย์ด้วยการเลี้ยงไส้เดือนดิน

นายนลวัชร์ ขุนลา และนางศรีสมบัติ คำทอน บุคลากรวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว อำเภอเกาะสมุย เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การแปรรูปขยะอินทรีย์ด้วยกระบวนการทางชีวภาพโดยการเลี้ยงไส้เดือนดิน ภายใต้โครงการจัดการขยะต้นทางและการแปรรูปขยะอินทรีย์ ในระหว่างวันที่ 23-24 มิถุนายน 2565 ณ ห้องเพชรสมุย สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้รู้จักการคัดแยกขยะอินทรีย์ตั้งแต่ต้นทาง ส่งเสริมทักษะการแปรรูปขยะอินทรีย์ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ เกิดกระบวนการจัดการขยะอย่างยั่งยืน สามารถนำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดผลผลิตต่อได้ นำสู่การลดปัญหาสิ่งแวดล้อมระยะยาว ภาพโดย : เทศบาลนครเกาะสมุย ที่มา Facebook Page : International School of Tourism (Suratthani Rajabhat University)

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 2
DETAIL
Jun
15

คบว.ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ด้วยการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตตำบลขุนทะเล

เวลา 12.30 น. (15 มิถุนายน 2565) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ โดยมี ผศ.วีณา ลิ้มสกุล ผู้ช่วยคณบดีศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้เพื่ออบรมดูแลผู้สูงอายุในระยะเฉียบพลันส่งเสริมการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบล ขุนทะเล ณ ห้องปฏิบัติการคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้น 3 อาคาร 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน โดยผศ.กฤษณา สังขมุณีจินดา และอาจารย์ เกศรา ตั้นเซ่ง อาจารย์สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และ ผู้สูงอายุ และสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโดยผู้ช่วยคณบดีศูนย์สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
By โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น | SDG 1 . SDG 2
DETAIL
Jun
10

คบว.ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ฯพัฒนานวัตกรรมการปลูกผักระบบน้ำหมุนเวียนด้วยพลังงานโซล่าเซลล์

นอกจากนี้ ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีพัฒนานวัตกรรมการปลูกผักระบบน้ำหมุนเวียนฯ พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการการปลูกผักระบบน้ำหมุนเวียนด้วยพลังงานโซล่าเซลล์ซึ่งการดำเนินงานโครงการดังกล่าวได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 -12 มิถุนายน 2565

By โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น | SDG 1 . SDG 2
DETAIL
Jun
06

คบว.ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ฯ หนุนโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนา บ้านห้วยเสียดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง

เวลา 07.30 น. คณะกรรมการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาบ้านห้วยเสียดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมปฏิบัติการนวดยาตามแนวกล้ามเนื้อรยางค์บน รยางค์ล่าง และแกนกลางลำตัวที่ปวดหรือบาดเจ็บอย่างถูกต้อง เรียนรู้วิธีการดูแลตังเองของเกษตรกร ร่วมกับการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพโดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ ณ ศาลาเอนกประสงค์ ชุมชนบ้านห้วยเสียดอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการให้ความรู้ และทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ฝึกทำลูกประคบ ฝึกนวดประคบ ตรวจรักษาโรค พร้อมทั้ง การรักษาทางกายภาพบำบัด ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ด้วย Thera Band ยางยืด และให้ Home program เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพความเจ็บปวดร่างกายด้วยตนเองได้อย่างดีเยี่ยม ลดค่าใช้จ่ายการรักษาการเดินทางไปโรงพยาบาล ลดเวลาการรอคอยการรักษา สร้างความมั่นใจในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมการทำงานแบบมีความสุข สุขภาพดี แบบมีส่วนร่วม อีกทั้ง เป็นการตั้งคลินิกกายภาพเคลื่อนที่ในการรักษา US Tens Hot pack นวดยา มีการตรวจร่างกายโดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ และรักษา พร้อมบันทึก OPD card แบบบันทึกการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน และใบนัดติดตามอาการปวดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 6,8,13 และ17 มิถุนายน […]

By โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น | SDG 1 . SDG 2
DETAIL
Jun
04

คบว.จับมือคณะวิทยาศาสตร์ฯ ยกระดับ พัฒนาผลิตภัณฑ์ “ปลาหมอแดดเดียว”

 เติมความแซบ ! ด้วย “ยำปลาเม็ง” กึ่งสำเร็จรูป

By โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น | SDG 2 . Uncategorized
DETAIL
Apr
06

วจก. ลงพื้นที่ ลุยส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจด้านมาตรฐาน อย. และฮาลาล

เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2565 ที่ผ่านมา หน่วยบริการวิชาการและพันธกิจสัมพันธ์ คณะวิทยาการจัดการ นำทีมโดย ผศ.ณัชชารีย์ ทวีหิรัญรัญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผศ.พงศกร ศยามล รองหัวหน้าหน่วย และคณะ ลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้และผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อย. มผช. และฮาลาล แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารทะเล ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไข่เป็ด น้ำปลา กาแฟสำเร็จรูป รวมถึงผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ ผ้าบาติกเพ้นท์ลาย โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 30 คน ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสุขสำราญ ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง ด้าน ผศ.ณัชชารีย์ หิรัญรัฐกิจ กล่าวว่า ปัญหาหลักที่พบจากการลงพื้นที่ยังเป็นเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งยังขาดการพัฒนาสินค้าหรือการบริการและการออกแบบให้ตรงตามความต้องการของตลาด ที่ยังไม่สร้างความแตกต่างและยังไม่สามารถเพิ่มมูลค่า ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการที่กลุ่มผู้ประกอบการเองยังขาดความรู้ความเข้าใจของการออกแบบและพัฒนา รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อันจะเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะผลักดันให้เกิดองค์ความรู้ในด้านการปรับปรุง ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมถึงการผลักดันให้สินค้าได้มาตรฐานภัณฑ์ทั้ง อย. และฮาลาล จึงเป็นโอกาสอันดีที่ได้รับโจทย์ในการผลักดันให้กลุ่มวิสาหกิจเกิดองค์ความรู้และเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อใช้สำหรับขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ชุมชนและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนต่อไป ข้อมูลจากเว็บไซต์ : […]

By คณะวิทยาการจัดการ | SDG 2
DETAIL
Mar
30

วนช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการจัดการขยะอาหาร ในเกาะสมุย

30 มีนาคม 2565 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ดร.ณภัทร นาคสวัสดิ์ รองคณบดี และทีมงาน นำทีมวิจัย ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และคณะคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการจัดการขยะอาหาร ได้เเก่ ศูนย์การเรียนรู้บ้านย่าสวนปู่ Santiburi Koh Samui โรงพิมพ์สมุยอักษร ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนตาเจตน์THE HIVE อ่านเพิ่มเติม

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 2
DETAIL
Mar
29

วนช.ร่วมกับจุฬา วางแผนรบริหารจัดการขยะอาหาร ในพื้นที่อ.เกาะสมุย

29 มีนาคม 2565 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และทีมงาน ร่วมกับ คณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมเพื่อวางแผนดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการขยะอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษกิจหมุนเวียนเกาะสมุยและเป็นชุมชนต้นแบบด้านความมั่นคงด้านอาหาร โดย..ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี คุณสุภิญญา ศรีทองกุล รองนายกเทศบาลนครเกาะสมุย เป็นประธานซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าว นำทีมวิจัย โดย ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และคณะคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการจัดการขยะอาหาร การทิ้ง และร่วมรับฟังปัญหา ขั้นตอนการดำเนินการบริหารจัดการขยะอาหารที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่าย และประชาชนในพื้นที่ดำเนินการ เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนา Zero Waste ต่อไป Facebook : International School of Tourism 

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 2
DETAIL
Feb
14

วนช.ร่วมวางแผนการพัฒนางานวิสาหกิจชุมชนสมุยยั่งยืน ในแบรนด์ฟาร์มชาวเกาะ

14 ก.พ.65ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ร่วมประชุมวางแผนการพัฒนางานวิสาหกิจชุมชนสมุยยั่งยืน ในแบรนด์ #ฟาร์มชาวเกาะ ร่วมกับTops Supermarket เพื่อต่อยอดผลผลิต ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปของชุมชนชาวเกาะสมุย สำหรับจำหน่าย ณ Central food Hall สาขาสมุย โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และสร้างความมั่นคงทางอาหารในเมืองท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังวางแผนจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต ที่มาFacebook : International School of Tourism

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 2
DETAIL
Dec
25

อพ.สธ-มรส.พัฒนาหลักสูตรภูมิปัญาท้องถิ่น สืบทอดภูมิปัญญาการอนุรักษ์ข้าวหอมไชยา

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 ทีมงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำเสนอสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI พร้อมประชาสัมพันธ์นวัตกรรม E-Learning ดร.ธวัช บุญแสง ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยในช่วงเดือนที่ผ่านมา ผู้คณะกรรมการดำเนินงานได้เก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาข้าวหอมไชยาเพื่อนำมาพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา อำเภอไชยา รวบรวม และสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และผลิตนวัตกรรม CAI จำนวนไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง และได้จัดการอบรมปฏิบัติการในการผลิตนวัตกรรมสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI และนวัตกรรม E-Learning ณ คณะครุศาสตร์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 สำหรับวันนี้ทางคณะกรรมการดำเนินงานโครงการได้เชิญสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานีทั้ง 3 เขต มาเพื่อนำเสนอสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI และนวัตกรรม E-Learning เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ และใช้ประโยชน์จากงานที่ อพ.สธ.-มรส.ได้ดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 ต่อไป

By โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น | SDG 2
DETAIL
Dec
20

โครงการวิศวกรสังคมตำบลบางใบไม้

ชื่อโครงการ : โครงการวิศวกรสังคมตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้รับผิดชอบ : สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ประมาณ 10.14 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,376 ไร่ มีประชากรทั้งหมด 2,665 คน สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มมีคลองเล็กคลองน้อยไหลผ่านมีแม่น้ำหลายสายแยกออกมาจากลำคลอง ทำให้ตำบลบางใบไม้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปในนาม “ดินแดนแห่งคลองร้อยสาย” จากลักษณะของภูมิประเทศทำให้ ตำบลบางใบไม้ มีพรรณพืชหลากหลาย อันได้แก่ ลำพู โกงกาง ต้นจาก และพันธุ์ไม้น้ำจำนวนมากเจริญงอกงามเป็นทิวแถวสองฝั่งแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นแหล่งที่พักพิงของหิ่งห้อย และนกนานาพันธุ์ รวมทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำทุกชนิด สำหรับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในตำบลบางใบไม้เป็นไปอย่างเรียบง่าย ยึดประเพณีวัฒนธรรมแบบโบราณ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ รับจ้าง ข้าราชการ และสวนน้ำมันปาล์ม ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และ เนื่องด้วยตำบลบางใบไม้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มีความพร้อมทางทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่ยังคงคุณค่าไว้ควรแก่การมาเยือนของนักท่องเที่ยว และทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมใน การส่งเสริมการท่องเที่ยวเหมาะต่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียง ปัจจุบันถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการตอบรับของนักท่องเที่ยวมากขึ้น ประชาชนของตำบลบางใบไม้มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจ ชุมชนโดยใช้ชื่อว่า กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลบางใบไม้ มีองค์การบริหารส่วนตำบลบางใบไม้เป็นผู้สนับสนุนและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่งผลให้เกิดธุรกิจทางการท่องเที่ยวหลายประเภท […]

By คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | SDG 1 . SDG 2
DETAIL
Nov
28

U2T ต.พนม จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมการตลาดด้วยสื่อดิจิทัล ในการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมการตลาดด้วยสื่อดิจิทัลโดยการทำเครื่องแกงส้มและแกงกะทิ

เมื่อวันที่ 9-10 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา วิศวกรสังคม ต.พนม อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมการตลาดด้วยสื่อดิจิทัลโดยการทำเครื่องแกงส้มและแกงกะทิ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมการตลาดด้วยสื่อดิจิทัล ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 ต.พนม อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ โดยได้รับเกียรติจากคุณราตรี วิเชียรแก้ว ประธานกลุ่มเครื่องแกงแม่บ้านแสนสุขประชารักษ์ มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมอบรมดังกล่าว ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ได้มีการแบ่งกลุ่มเป็น2กลุ่ม วิทยากรกลุ่มละ 1 ท่าน ในการถ่ายทอดความรู้ในขั้นตอนการทำเครื่องแกงส้มและแกงกะทิอย่างใกล้ชิดและเข้าใจง่าย เพื่อสามารถนำไปต่อยอดประกอบอาชีพได้ในอนาคต สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัด ที่มา : ต.พนม อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี

By ศูนย์ประสานงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) | SDG 1 . SDG 2
DETAIL

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (SURATTHANI RAJABHAT UNIVERSITY)

272 ถ. สุราษฎร์-นาสาร ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100
โทรศัพท์ : 077 913333 โทรสาร : 077 913348
อีเมล์ : info@sru.ac.th

มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินด้วยภูมิปัญญาให้เป็นพลัง ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

TOP