อาจารย์เชฟลงพื้นที่อัพสกิลสตรี เสริมสร้างรายได้ จากสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี นำไข่เค็มสินค้าภูมิปัญญาเฉพาะอัตลักษณ์ท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพกลุ่มสตรีในพื้นที่ผ่านหลักสูตรการประกอบอาหารจากไข่เค็มทั้งคาวหวาน มุ่งสร้างได้และพัฒนาสู่ผู้ประกอบการรายใหม่ โดย ดร.ณภัทร นาคสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยและอาหารนานาชาติ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในโครงการดังกล่าว เปิดโอกาสให้กลุ่มสตรีพัฒนาศักยภาพของตนเอง เข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ มีความสามารถในการพัฒนาเพื่อประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ใหม่ ซึ่งได้นำไข่เค็มสินค้าจากภูมิปัญญาเฉพาะซึ่งเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาเป็นหลักสูตรการประกอบอาหารจากไข่เค็ม ระยะเวลาฝึก 30 ชั่วโมง โดยดำเนินการฝึกอบรม รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 20 – 23 พฤศจิกายน 2566 ณ วัดใหม่ลานทะเล อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มหกรรมสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ท่องเที่ยวท้องถิ่น U2T FOR BCG MARKET FAIR 2022 ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG “ชิม ช็อป แชร์”
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้ทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ ในการเตรียมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพในการยื่นของบประมาณ ในโครงการ U2T เฟส 1 และ เฟส 2 และเฟส 3 เราทำงานอย่างหนักในการบริหารจัดการทั้งระบบในการรับการจ้างงานรวมกัน กว่า 119 ตำบลมีงบประมาณลงพื้นที่ให้ท้องถิ่น กว่า 300 ล้านบาท จ้างงานผู้ที่ตกงานกว่า 3600 คน และเราได้สร้าง ยกระดับ และพัฒนาผลิตภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยวชุมชน กว่า 500 รายการ ทั้งหมด คือ ความภูมิใจของเรา ในฐานะคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน ในฐานะที่เราเป็นมหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่ที่พร้อมดูแลนักศึกษา บัณฑิต และพี่น้องประชาชนในทุกมิติ
Supanit Sriyamaka Scholarship
11 กรกฎาคม 2565นางสาวรศิกานต์ วรรณกูล และ นางสาวมาธิตามาศ นพสวัสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการจัดการโรงเเรม (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว อำเภอเกาะสมุย ได้ทำการเซ็นสัญญารับทุน “Supanit Sriyamaka Scholarship” จาก Mr.Paul Glickman ผู้สนับสนุนทุนการศึกษา ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโรงเเรม (หลักสูตรนานาชาติ) โดยมี ดร.ณภัทร นาคสวัสดิ์ ดร.นิศารัตน์ ไทยทอง อาจารย์จิตรี ไทรทอง และอาจารย์ศันสนีย์ วงศ์สวัสดิ์ ให้การต้อนรับ Mr.Paul Glickman อย่างอบอุ่น ที่เดินทางมาเข้าพบปะพูดคุยกับนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาด้วยตัวเอง____________________________________________ #สาขาวิชาการจัดการโรงเเรม (หลักสูตรนานาชาติ)#เกาะสมุย
คบว.ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ด้วยการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตตำบลขุนทะเล
คบว.ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ฯพัฒนานวัตกรรมการปลูกผักระบบน้ำหมุนเวียนด้วยพลังงานโซล่าเซลล์
นอกจากนี้ ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีพัฒนานวัตกรรมการปลูกผักระบบน้ำหมุนเวียนฯ พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการการปลูกผักระบบน้ำหมุนเวียนด้วยพลังงานโซล่าเซลล์ซึ่งการดำเนินงานโครงการดังกล่าวได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 -12 มิถุนายน 2565
คบว.ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ฯ หนุนโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนา บ้านห้วยเสียดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง
เวลา 07.30 น. คณะกรรมการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาบ้านห้วยเสียดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมปฏิบัติการนวดยาตามแนวกล้ามเนื้อรยางค์บน รยางค์ล่าง และแกนกลางลำตัวที่ปวดหรือบาดเจ็บอย่างถูกต้อง เรียนรู้วิธีการดูแลตังเองของเกษตรกร ร่วมกับการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพโดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ ณ ศาลาเอนกประสงค์ ชุมชนบ้านห้วยเสียดอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการให้ความรู้ และทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ฝึกทำลูกประคบ ฝึกนวดประคบ ตรวจรักษาโรค พร้อมทั้ง การรักษาทางกายภาพบำบัด ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ด้วย Thera Band ยางยืด และให้ Home program เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพความเจ็บปวดร่างกายด้วยตนเองได้อย่างดีเยี่ยม ลดค่าใช้จ่ายการรักษาการเดินทางไปโรงพยาบาล ลดเวลาการรอคอยการรักษา สร้างความมั่นใจในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมการทำงานแบบมีความสุข สุขภาพดี แบบมีส่วนร่วม อีกทั้ง เป็นการตั้งคลินิกกายภาพเคลื่อนที่ในการรักษา US Tens Hot pack นวดยา มีการตรวจร่างกายโดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ และรักษา พร้อมบันทึก OPD card แบบบันทึกการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน และใบนัดติดตามอาการปวดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 6,8,13 และ17 มิถุนายน […]
หน่วยบริการวิชาการฯ วจก. ลงพื้นที่ จ.ระนอง ยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP
เมื่อวันที่ 19-20 พ.ค. 65 ที่ผ่านมา หน่วยบริการวิชาการและพันธกิจสัมพันธ์ คณะวิทยาการจัดการ นำโดยผู้ช่วยศาสตราาจารย์ณัชชารีย์ ทวีหิรัญรัฐกิจ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณะดำเนินงาน ลงพื้นที่ ณ ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง เพื่อยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ภายใต้การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ แปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยมีทั้งสิ้น 5 กิจกรรม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้า ผลิตภัณฑ์ไข่สมุนไพรใบเตย ผลิตภัณฑ์ไข่เยี่ยวม้า และผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาทู ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกเพ้นท์ลาย และผลิตภัณฑ์สบู่สครับจากกากกาแฟ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
คบว.มรส.ให้ความสำคัญสิ่งแวดล้อม
Focus ลดปัญหาขยะ พร้อมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะในชุมชน (17 – 20 พฤษภาคม 2565) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและผู้รับผิดชอบกิจกรรมการจัดการขยะ เพื่อชุมชนท่องเที่ยว นำโดยดร.วัชรี รวยรื่น และคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยัง องค์การบริหารส่วนตำบลด่านสวี ตำบลด่านสวี อำเภอด่านสวี จังหวัดชุมพร เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสถาการณ์ปัญหาขยะในชุมชน และภาพรวมปัญหาขยะของประเทศไทย พร้อมทั้งอบรมเชิงปฏิบัติสถานการณ์การจัดการขะทะเลของ อบต.ด่านสวี ทั้งนี้เพื่ออีกหนึ่งแนวทางในการลดปัญหาขยะมูลฝอยและปัญหามลพิษในชุมชน
ฝ่ายบริการวิชาการ จัดโครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น กิจกรรมที่ 4 การวิเคราะห์ศักยภาพและส่งเสริมอาชีพตามศาสตร์พระราชา พื้นที่บ้านห้วยเสียด
ด้วยฝ่ายบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กำหนดจัดโครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น กิจกรรมที่ 4 การวิเคราะห์ศักยภาพและส่งเสริมอาชีพตามศาสตร์พระราชา พื้นที่บ้านห้วยเสียด ในวันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม 2565 ณ สำนักงานองค์การบริหาร ส่วนตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ เพื่อจะพัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์ และพัฒนาองค์ความรู้เรื่องศาสตร์พระราชาให้กับนักศึกษา บุคลากร ชุมชน และภาคีเครือข่ายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกทั้งเพื่อดำเนินการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ในการพึ่งตนเองด้วยการจัดการที่ดินอย่างเหมาะสม
สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน นำนักศึกษาออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ ในรายวิชาทักษะการสื่อสารและการประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัล
สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน นำนักศึกษาออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ ในรายวิชาทักษะการสื่อสารและการประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัล
คบว.ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ฯขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์มิติสังคมเชิงพลวัตฯ
หนุนกิจกรรมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการศึกษา 13 พฤษภาคม 2565 โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและคณาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการบริหารจัดการการขับเคลื่อนพันธกิจสัมพันธ์มิติสังคมเชิงพลวัตบ้านห้วยเสียด ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม “การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการศึกษา” ณ ห้องประชุมที่ทำการหมู่บ้านห้วยเสียด โดยได้รับเกียรติจาก คุณปฐภพ สุคลธจร หัวหน้าประชาสัมพันธ์ศูนย์จิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และคุณอนัคร์ ใจสมุทร นักวิชาการอิสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย คณาจารย์จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นวิทยากร ทั้งนี้เพื่อเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้ด้านการสร้างนวัตกรรมการศึกษาบ้านห้วยเสียด และการสร้างรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเรียนรู้บ้านห้วยเสียด
คบว.หนุนสุดแรง หวังยกระดับเศรษฐกิจชุมชน”พลังเป็ดสุขสำราญ”
จัดอบรมปฏิบัติการการจัดทำบัญชีครัวเรือนและการเลี้ยงเป็ด โดยมี คณาจารย์จากคณะวิทยาการจัดการ คือ อาจารย์ ดร.เนตรนภา รักษายศ และอาจารย์นงลักษณ์ ผุดเผือก เป็นวิทยากร ซึ่งเนื้อหาในการอบรม คือ แนวคิดและวิธีการจัดทำบัญชีครัวเรือน นอกจากนี้ ได้มีการอบรมเรื่องการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย สำหรับการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 12 พฤษภาคม 2565
การส่งเสริม/สนับสนุน/พัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยทางเทคโนโลยีไฟฟ้าสู่การบริการวิชาการร่วมกับชุมชน
กิจกรรมพัฒนานวัตกรรมการปลูกผักระบบน้ำหมุนเวียนด้วยพลังไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ เป็นกิจกรรมที่ใด้จัดทำขึ้นตามโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราฎร์ธานี โดยมีอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรมร่วมกันทำกิจกรรม ซึ่งดำเนินการทำกิจกรรม ณ พื้นที่เกาะพะลวย ตำบล อ่างทอง อำเภอ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ในการปลูกผักด้วยระบบน้ำหมุนเวียนด้วยพลังไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ซึ่งใช้น้ำน้อยและได้ผักปลอดสารพิษสำหรับบริโภค โดยมี 1.วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการให้บริการการท่องเที่ยวของกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนเกาะพะลวยแบบครบวงจร 2.เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูกผักแบบใช้น้ำน้อยและขยายผลสู่ชุมชน 3.เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและป้องกันแกไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยว โดยดำเนินงานกิจกรรมพัฒนานวัตกรรมการปลูกผักระบบน้ำหมุนเวียนด้วยพลังไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน 2565 ผู้รับผิดชอบ : สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมาย : ..ส่งเสริมความรักสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้กับคนในชุมชนฐานราก วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาการให้บริการการท่องเที่ยวของกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนเกาะพะลวยแบบครบวงจร เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูกผักแบบใช้น้ำน้อยและขยายผลสู่ชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและป้องกันแกไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยว จัดโครงการเมื่อวันที่ : มกราคม – มิถุนายน 2565 สถานที่ : เกาะพะลวย ตำบล อ่างทอง อำเภอ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ : เกาะพะลวยเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกที่สามารถสร้างอาชีและรายได้ให้กับชุมชนได้
บริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กำหนดจัดโครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้การจัดการพื้นที่ขุนทะเล ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเพาะเห็ดตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (เห็ดแครง)
โครงการอบรม
เชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเพาะเห็ดตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในวันที่ 19 และ 21 ธันวาคม 2564 ณ บ้านท่าอู่ หมู่ 2 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมการเพาะเห็ดด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังสร้างเครือข่ายความร่วมมือเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานกับชุมชน
สรุปข้อมูลจำนวนนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564
ข้อมูลอัปเดต : วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2565ผู้ให้ข้อมูล: ว่าที่ร้อยตรีณัฐพล พัฒนา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา scholarships-mscsru-2564Download
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมกับ กลุ่มประมงพื้นบ้านฯบึงขุนทะเล วัดท่าอู่ และประชาชนผู้สนใจ ร่วมกันปลูกต้นบานบุรี สองข้างทางริมบึงขุนทะเล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมกับ กลุ่มประมงพื้นบ้านฯบึงขุนทะเล วัดท่าอู่ และประชาชนผู้สนใจ ร่วมกันปลูกต้นบานบุรี สองข้างทางริมบึงขุนทะเล
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้บุคลากรสังกัดศูนย์คอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิทยาลัยชุมชนระนอง
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้บุคลากรสังกัด คุณพีรพัฒน์ พรหมปาน คุณไตรเพชร พลดี คุณณัฐปภัสร์ พรหมปาน และคุณธีรวัฒน์ กิจงาม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิทยาลัยชุมชนระนอง ในระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม 2564 ณ ห้องมัลติมีเดีย ชั้น 2 อาคารทีปังกรรัศมีโชติ
วางแผนดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการขยะอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษกิจหมุนเวียนเกาะสมุยและเป็นชุมชนต้นแบบด้านความมั่นคงด้านอาหาร
29 มีนาคม 2565ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และทีมงาน ร่วมกับ คณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมเพื่อวางแผนดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการขยะอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษกิจหมุนเวียนเกาะสมุยและเป็นชุมชนต้นแบบด้านความมั่นคงด้านอาหาร โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี คุณสุภิญญา ศรีทองกุล รองนายกเทศบาลนครเกาะสมุย เป็นประธานซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าว นำทีมวิจัย โดย ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และคณะคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการจัดการขยะอาหาร การทิ้ง และร่วมรับฟังปัญหา ขั้นตอนการดำเนินการบริหารจัดการขยะอาหารที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่าย และประชาชนในพื้นที่ดำเนินการ เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนา Zero Waste ต่อไป 77แชร์ 3 ครั้งถูกใจแสดงความคิดเห็นแชร์ ความ
คบว. ขับเคลื่อนโครงการตามพระราโชบาย มุ่งยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตำบลด่านสวี
เมื่อเวลา 06.00 น. (24 มีนาคม 2565) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยังวิสาหกิจชุมชนหลาดเลบ้านเสียบญวน ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร certainเพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปไข่เค็มสมุนไพรโดยใช้สมุนไพรเหงือกปลาหมอเเพื่อการประกอบอาชีพ ตามโครงการพระบรมราโชบาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไข่เค็ม เป็นไข่เค็มสมุนไพรเหงือกปลาหมอเพื่อการจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเลี้ยงเป็ดและชุมชนที่สนใจ ณ ตลาดบ้านเสียบญวน หมู่ที่ 5 ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง และอาจารย์รวงนลิน เทพนวล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวิทยากรอบรม ทั้งนี้ มีนายเมธา พุฒนกุล ประธานกลุ่ม วิสาหกิจหลาดเลบ้านเสียบญวน และนายธนเกียรติ สุขแก้ว ประธานกลุ่มพลังเป็ดไข่บ้านเสียบญวนให้การต้อนรับพร้อมด้วยประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมเป็นจำนวนมาก