ฝ่ายบริการวิชาการ จัดโครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น กิจกรรมที่ 4 การวิเคราะห์ศักยภาพและส่งเสริมอาชีพตามศาสตร์พระราชา พื้นที่บ้านห้วยเสียด
ด้วยฝ่ายบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กำหนดจัดโครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น กิจกรรมที่ 4 การวิเคราะห์ศักยภาพและส่งเสริมอาชีพตามศาสตร์พระราชา พื้นที่บ้านห้วยเสียด ในวันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม 2565 ณ สำนักงานองค์การบริหาร ส่วนตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ เพื่อจะพัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์ และพัฒนาองค์ความรู้เรื่องศาสตร์พระราชาให้กับนักศึกษา บุคลากร ชุมชน และภาคีเครือข่ายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกทั้งเพื่อดำเนินการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ในการพึ่งตนเองด้วยการจัดการที่ดินอย่างเหมาะสม
หัวข้อ | รายละเอียด |
ชื่อโครการ | โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บ้านห้วยเสียด |
ผู้รับผิดชอบ/คณะ/สาขาวิชา | อาจารย์พงศ์เทพ แก้วเสถียร |
ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา | วิเคราะห์ศักยภาพและส่งเสริมอาชีพตามศาสตร์พระราชา พื้นที่บ้านห้วยเสียด |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ เพื่อจะพัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์ 2.เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ของนักศึกษาและชาวบ้านในพื้นที่ 3. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ เพื่อจะพัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้ตามศาสตร์ 4. พัฒนาองค์ความรู้เรื่องศาสตร์พระราชาให้กับนักศึกษา บุคลากร ชุมชน และภาคีเครือข่ายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
แหล่งทุนสนับสนุน | ฝ่ายบริการวิชาการ |
หน่วยงานที่ร่วมมือ | 1. นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2.ชาวบ้านชุมชนบึงขุนทะเล |
ระดับความร่วมมือ | ระดับตำบล |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ ระบุวันที่ การนำไปใช้ | ความต้องการของประชาชนด้านการพัฒนาตนเอง ความต้องการของประชาชนตามการให้ข้อมูลของผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และ อสม. พบว่าความต้องการสำคัญคือการสนับสนุนองค์ความรู้ ด้านการพัฒนาอาชีพเสริม และการพัฒนาทักษะอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน เช่น การเลี้ยงปลาดุก การทำเกษตรผสมผสาน ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น โดยคัดสรรครัวเรือนยากจน หรือครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ แนวทางการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน การอบรมให้ความรู้ เพื่อเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญผ่านการอบรม หรือถ่ายทอดจากผู้มีประสบการณ์โดยตรง พร้อมทั้งสนับสนุนเครื่องมือ วัสดุ ทุน หรือปัจจัยการผลิตที่จะส่งผลต่อการประกอบอาชีพอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการเข้าถึงตลาด การขาย หรือเพิ่มช่องทางการขาย เพื่อให้มีแหล่งตลาดที่รองรับสินค้าชุมชนในอนาคต ผ่านกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้าน 1.การเลี้ยงปลาดุก 2.การปลูกผักสวนครัว 3.การเลี้ยงเป็ด 4.การขายของออนไลน์ |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน | https://human.sru.ac.th/?p=10819 |
SDGs Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ | SDG1 |