ติดตั้งเครื่องอัดขึ้นรูปขุยมะพร้าวหวังเพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือทิ้งจากเปลือกมะพร้าว เกาะสมุยติดตั้งเครื่องอัดขึ้นรูปขุยมะพร้าว
วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เอ็มเทค สวทช.) ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ รองคณบดีวิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย พร้อมด้วย คณาจารย์และบุคลากร พบปะพูดคุยอัพเดทการดำเนินงานการพัฒนาสร้างเครื่องจักรที่เพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือทิ้งจากเปลือกมะพร้าว เกาะสมุย ร่วมกับ ดร.ศุภกิจ วรศิลป์ชัย นักวิจัย ทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ พร้อมคณะทำงาน ทีมวิจัยได้ทำการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษเหลือทั้งจากน้ำมันมะพร้าว เพื่อใช้ในการแปรรูป โดยเครื่องจักรที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถแปรรูปเปลือกมะพร้าวให้กลายเป็นวัสดุทดแทนในไม้ซึ่งอยู่ในรูปของถาด โดยในการขึ้นรูปถาดนั้นใช้เวลาประมาณ 3 นาทีต่อชิ้น หรือประมาณ 38,000 ชิ้นต่อปี คิดเป็นมูลค่าทดแทนถาดพลาสติกได้ 1,520,000 บาท และเป็นการ upcycle เปลือกมะพร้าวโดยไม่ต้องเผาได้ราว 11 ตันต่อปี นับเป็นปริมาณ carbon capture ได้ประมาณ 16 กรัมต่อขึ้น หรือประมาณ […]
วสก.ต้อนรับ มูลนิธิชัยพัฒนา เซ็นทรัล กรุ๊ป และภาคีเครือข่าย ร่วมประชุมติดตามโครงการด้านการจัดการขยะร่วมกับภาคีเครือข่าย
11 กรกฎาคม 2567 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ รองคณบดีวิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล มูลนิธิชัยพัฒนา คุณพิชัย จิราธิวัฒน์ เซ็นทรัล กรุ๊ป และภาคีเครือข่ายลงพื้นที่ร่วมประชุมติดตามโครงการด้านการจัดการขยะร่วมกับภาคีเครือข่าย หารือแนวทางในการดำเนินการจัดการขยะบนเกาะสมุย ร่วมต่อยอดการพัฒนาให้นำไปสู่การเป็น Samui Zero Waste ต่อไป ณ ห้องประชุมละไม ชั้น 2 วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย อีกทั้งยังนำชมเครื่องสำหรับย่อยขยะเศษอาหาร ที่จัดตั้ง ณ วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย จำนวน 2 เครื่อง ได้แก่ Cowteg และ Bio-Digester ซึ่งมีการดำเนินการย่อยขยะเศษอาหารมากว่า 3 ปี โดยมีเทศบาลนครเกาะสมุยดำเนินการส่งขยะเศษอาหารมาที่วิทยาลัยทุกวัน ซึ่งนับว่าเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในการช่วยสนับสนุน การเป็น Samui Zero Waste
COCO Life มะพร้าวชาวเกาะ
วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย อาจารย์ศันศนีย์ วงศ์สวัสดิ์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และวิสาหกิจชุมชนเสน่ห์สมุย จัดงาน COCO Life มะพร้าวชาวเกาะ งานที่นำเสนอความรู้ ภูมิปัญญา การละเล่น ความร่วมมือ และเสิร์ฟความอร่อยที่ล้วนมาจากมะพร้าวสมุย ในวันพฤหัสที่ 28 มีนาคม 2567 ณ ลานกิจกรรม วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกษตรลิปะน้อย หมู่ 4 ต.ลิปะน้อย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย-การแสดงโนราห์จงดี และกวีนิพนธ์ทิดหมุย-ฐานภูมิปัญญามะพร้าว ที่มีทั้งอาหารคาว หวาน และสนุกสนานด้วยการละเล่น #ควายพรก-เสวนา “พร้าวหมุย รากฐานจากอดีต สู่ ฐานรากเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยคนรุ่นใหม่ และกลุ่มองค์กรที่สร้างเศรษฐกิจจากมะพร้าวสมุย-กะลาบำบัด เพื่อการดูแลสุขภาพ-ท้าแยกขยะกับ #แก๊งค์เด็กพิชิตขยะ ที่จะชวนทุกคนร่วมสร้างกิจกรรม Zero Waste-ชวนประชันพลังในการแข่งขันเดินกะลา เป่าปี่ใบมะพร้าว-ช้อปสินค้าชุมชน โดยมีเงื่อนไขว่าคุณต้องนำถุงแบบใช้ซ้ำ กระเป๋า หรือถุงผ้ามาใส่สินค้าด้วยตนเอง และในครั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐ […]
กิจกรรมอบรมทำความเข้าใจทำความรู้จักเกษตรอินทรีย์และการรับรองความเป็นเกษตรอินทรีย์
วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว พร้อมด้วย บุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมอบรมทำความเข้าใจทำความรู้จักเกษตรอินทรีย์และการรับรองความเป็นเกษตรอินทรีย์ เทคนิคการทำเกษตรอินทรีย์ การผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อย่างถูกต้องร่วมกัน จัดโดย สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ณ สวนนายแดง ต.หน้าเมือง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี กิจกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เชื่อมโยงเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค บนห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ ตอบโจทย์ปัญหา เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพสุราษฎร์ธานี ซึ่งโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มีเครื่อง COW TEC และ เครื่อง Bio Digester ที่สามารถผลิตน้ำ EM ที่มีคุณภาพ และสารปรับปรุงดินคุณภาพสูง เพื่อทางมหาวิทยาลัยได้นำออกสู่ชุมชนต่อไป
ประชุมติดตามและประเมินผลรายงานฉบับสมบูรณ์ (Bio digester)
17 สิงหาคม 2566 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ร่วมกับ ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และนายวรุณ วารัญญานนท์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมติดตามและประเมินผลรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ การบริหารจัดการขยะอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนเกาะสมุยและเป็นชุมชนต้นแบบด้านความมั่นคงด้านอาหาร ภายใต้แผนงานวิจัย ความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมี คุณสุภิญญา ศรีทองกุล รองนายกเทศบาลนครเกาะสมุย เป็นประธาน ในการประชุมผู้วิจัยได้สรุปผลรายงานการดำเนินงานในการทดลองใช้งานเครื่อง Bio Digester ในการบริหารจัดการขยะอาหารในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีชุมชมและสถานประกอบการในอำเภอเกาะสมุยเข้าร่วมรับฟังการรายผลในครั้งนี้ #BioDigester #บริหารจัดการขยะ#เกาะสมุย
ประชุมรายงานความก้าวหน้า โครงการ Coconut upcycling: wood alternative material
10 สิงหาคม 2566 เอ็มเทค ร่วมกับ โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ต่อยอดการจัดการขยะเปลือกมะพร้าวเกาะสมุย โดยทาง คณะทำงานจาก..ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้า ในการออกแบบเครื่อง Shredder machine สำหรับบดขยะเปลือกมะพร้าวเกาะสมุย และขึ้นรูปเป็นวัสดุทดแทนไม้ เพื่อตอบโจทย์นโยบาย Low Carbon มุ่งเน้นการใช้กรีนโปรดักมากขึ้น ซึ่งโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย ได้จัดเตรียมโรงเรือนสำหรับจัดตั้ง Shredder machine เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการช่วยลดปัญหาขยะเปลือกมะพร้าวเกาะสมุย อีกทั้งยังสามารถสร้าง Product เช่น ถาดวางแก้ว ซึ่งโรงแรมทุกแห่งบนเกาะสมุย จำเป็นต้องมีถาดสำหรับเสิร์ฟ Welcome Drink ยังเป็นการลดทุนในการซื้อถาดไม้ได้อีกด้วย
เครือข่ายท่องเที่ยวเกาะสมุยทดสอบเส้นทางเกาะพะลวย
19-20 มิถุนายน 2566ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ นำทีมไปเกาะพะลวย ซึ่งเกาะพะลวยนับเป็นเกาะบริวารของเกาะสมุย ระยะห่างจากเกาะสมุยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงโดยเรือสปีทโบ๊ท ถึงแม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์จะเป็นคนละเกาะกัน แต่ทางการปกครอง เกาะพะลวยถือเป็นส่วนหนึ่งของเกาะสมุย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 155 คน ส่วนหนึ่งของเกาะอยู่ในความดูแลของอุทธยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และที่เหลืออยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ เกาะพะลวยเป็นเกาะพลังงานสะอาด เพราะไม่มีไฟฟ้าใช้ ส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์ และใช้เครื่องปั่นไฟบ้าง ซึ่งการทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวเกาะพะลวยในครั้งนี้ ได้เชิญชวนการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย สำนักงานเกาะสมุย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และบริษัททัวส์ในพื้นที่ ไปเปิดเส้นทางให้เป็นทางเลือกใหม่กับนักท่องเที่ยวที่อาจจะไม่รู้จักที่นี่ หรืออาจจะไม่คุ้นให้เป็นทัวส์ทางเลือกก็ว่าได้ ด้วยภาระกิจสุดโหด แต่มันส์ที่สุด คือ การปืนเขาเขาค่างทัก ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูน เส้นทางนี้ผ่านทั้งป่าดิบชื้น ปื้นหน้าผา ผ่านถ้ำ ปีนถ้ำ เพื่อสะท้อนว่า หากหากจะนำนักท่องเที่ยวมาที่นี่ พื้นที่ตัองปรับอะไรบ้าง เพื่อให้เส้นทางสมบูรณ์แบบที่สุด
Our Activities
Youth Leaders for Localizing SDGs – การอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้นำนักศึกษาด้านความยั่งยืน . วันนี้ (22 เมษายน 2566) SDG Move จัดค่ายอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผูนำนักศึกษาด้านความยั่งยืน ระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีตัวแทนนักศึกษาจาก 9 มหาวิทยาลัย เข้าร่วมประกอบด้วย (1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (2) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (3) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (4) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (5) มหาวิทยาลัยนเรศวร (6) มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (7) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ( มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (9) มหาวิทยาลัยศิลปากร สำหรับกิจกรรมในวันแรกเริ่มต้นด้วยกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยน “ความสําคัญและบทบาทของเยาวชนต่องการขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ” โดยคณะวิทยากร ได้แก่ 1. น.สพ.ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ eec Thailand […]
Amazing Organic เที่ยววิถีออร์แกนิคของดีไม่ต้องพ’ยาม
คุณน้ำฝนบุณยะวัฒน์ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่เกาะสมุย เพื่อร่วมพบปะพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการในการดำเนินงานเรื่อง BCG ร่วมกับ ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว อ.ศันสนีย์ วงศ์สวัสดิ์ และนายนลวัชร์ ขุนลา ตัวแทนมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย เทศบาลนครเกาะสมุย ททท.เกาะสมุย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย Central Tops และวิสาหกิจสมุยยั่งยืน เพื่อสร้างความความภูมิใจในตนเองที่ได้มีส่วนร่วมในการรักษ์โลก และช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยการเคี้ยว ให้การท่องเที่ยวแต่ละครั้งของคุณทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น
มรภ.สุราษฎร์ธานี-เทศบาลตำบลขุนทะเล แถลงข่าวยกผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพสร้างรายได้สู่ท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ณ พื้นที่แหล่งเรียนรู้ประมงพื้นบ้านเพื่อการอนุรักษ์บึงขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มรส. มอบหมายให้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม เป็นผู้ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการจัดการขยะอินทรีย์ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับเทศบาลตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ นายทัพชนะ มะลิเผือก นายกเทศมนตรีตำบลขุนทะเล Mr. Renaud Meyer, Resident Representative, United Nations Development Programme (UNDP) (ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย) และคุณสายใจ มงคลเจริญ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตสุราษฎร์ธานี 1 ในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาผลิตก๊าซชีวภาพและปุ๋ยหมัก ยกผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพ สร้างรายได้สู่ท้องถิ่น.โดยการบริหารจัดการขยะอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ : สถานีที่ตอบสนองต่อ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG Station)” ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) […]
การจัดการขยะเปียกต้นทาง ด้วยเครื่องแปรรูปขยะชีวมวล (Bio Digester)
2 มีนาคม 2565 โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเทศบาลนครเกาะสมุย จัดประชุมขยายผลด้านการจัดการขยะเปียกต้นทาง ด้วยเครื่องแปรรูปขยะชีวมวล (Bio Digester) โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการผลิต และจัดตั้งไว้ ณ โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรับขยะเปียก โดยเครื่องนี้สามารถรองรับขยะเปียกได้ 1.2 ตัน/วัน และแปรรูปด้วยกระบวนการแยกน้ำออกจากเนื้อสาร จากการย่อยสลายให้กลายสภาพเป็นสารปรับปรุงดิน และน้ำ EM ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และประชาชน ในอำเภอเกาะสมุย เข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมกันวางแผนการจัดการขยะเศษอาหารร่วมกันในเกาะสมุย ลดปัญหาขยะเศษอาหาร และช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างเมืองสมุยให้เป็นเมืองที่สะอาด และน่าอยู่ มากยิ่งขึ้น ณ ห้องประชุมละไม ชั้น 2 โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มรส.ผนึกกำลัง เทศบาลตำบลขุนทะเล สฎ. ยกระดับการบริหารจัดการขยะอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มรส. พร้อมด้วยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม ร่วมลงนามกับเทศบาลตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยมีนายวรรณพงษ์ ขจรศักดิ์สิริกุล ปลัดเทศบาลตำบลขุนทะเลเป็นผู้ลงนามได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาผลิตก๊าซชีวภาพและปุ๋ยหมัก:ในวันเดียวกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิด กิจกรรม 30 days zero waste challenge ใน“โครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ : สถานีที่ตอบสนองต่อ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG Station)” ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) โดยการสนับสนุนด้าน งบประมาณจาก […]
มรส.ร่วมประชุม APEC Energy Forum 2022 : APEC คลังสมองพลังงานอัจฉริยะ
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี(มรส.) ร่วมแสดงปาฐกถาพิเศษแบบออนไลน์ ในหัวข้อ “การปฎิรูปและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษา” (Green Transformation and Development of Higher Education) ในการประชุม APEC Energy Forum 2022 : APEC คลังสมองพลังงานอัจฉริยะ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในฐานะสถาบันอุดมศึกษาในการผลิตวิศวกรสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มีความมุ่งมั่นที่จะรวบรวมสรรพกำลังและผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแก่สิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยและสิ่งแวดล้อมโดยรวมของโลกในทุกมิติ นอกจากนี้ ดร. วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินรายการในการประชุมดังกล่าวทั้งรูปแบบภาษาไทยและภาษาจีน ณ ห้องประชุมจันทร์ประภัสสร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ทั้งนี้ การประชุมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงเทพมหานคร:นายอดิสรณ์ เนาวโคอักษร ข่าวดร. วิรุฬห์ […]
มรส.จับมือ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Reinventing University for SDGs
เมื่อวันที่(8 พ.ย.65) ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) มอบหมายให้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดี ฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ และเครือข่ายสังคม เป็นประธานประชุม โครงการสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพสถาบันอุดมศึกษา เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Reinventing University for SDGs และ ให้การต้อนรับคณะทำงานจากศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งนำโดยอาจารย์นันทินี มาลานนท์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมด้วยอาจารย์มาลัยแก้ว รังสีสุริยันต์ ที่ปรึกษาของโครงการ และอาจารย์ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์ ที่ปรึกษาของโครงการ โดยโครงการสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพสถาบันอุดมศึกษาเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย Reinventing University หรือ “โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย” ซึ่งมุ่งหมายให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งได้ใช้ความสามารถและศักยภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทิศทางใหม่ๆให้เกิดขึ้น ณ ห้องราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี:อดิสรณ์ […]
มรส.ผนึกกำลัง ส.เกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ พร้อมผลักดันการปลูกยางพาราแบบเกษตรยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี(มรส.) พร้อมด้วยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองธิการบดี ฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ และเครือข่ายสังคม และผศ.ดร.นรา พงษ์พานิชผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มรส. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ สมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ โดยมีนายเด่นเดช เดชมณี นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ เป็นผู้ลงนามในครั้งนี้ ณ หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี:โดยวัตถุประสงค์ของความร่วมมือ ในการรักษาเสถียรภาพของเกษตรกรสวนยางพาราเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียด ดังนี้สร้างความยั่งยืนของอาชีพให้กับเกษตรกร ในส่วนของรายได้จากราคายาง และการปลูกยางพาราแบบเกษตรยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตยางพาราทุกประเภททั้งไม้ยางพารา น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน และอื่น ๆ รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราขนาดเล็ก โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกร ให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรสมัยใหม่ โดยพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการกรีดยาง และอนุรักษ์สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตของเกษตรชาวสวนยาง สนับสนุนการศึกษาและสร้างความรู้ความเข้าใจ เกิดกลุ่มต้นแบบเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน:อดิสรณ์ เนาวโคอักษร /ข่าวสมยศ […]
มรส.ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายตั้งธนาคารขยะสร้าง Zero Waste เพื่อชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ณ ห้องเฟื่องฟ้า สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มรส. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมกับ ดร.อมรวรรณ เรศานนท์ ผู้จัดการโครงการ Low Carbon City แห่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) ดำเนินโครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ : สถานีที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่นั่งยืน (SDG Station) สร้างพื้นที่นำร่องการจัดการขยะ ตรวจสอบแหล่งกำเนิดขยะ เร่งบริหารจัดการในชุมชนท้องถิ่น พร้อมด้วยธนาคารออมสิน และบริษัท คาร์กิลล์ ประเทศไทย ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน โดยมี นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เกียรติกล่าวเปิดงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน.ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯ ได้มีการดำเนินการจัดการด้านขยะภายในมหาวิทยาลัยฯ อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายต้องการให้ขยะเป็นศูนย์ (Zero […]
คณะนิติศาสตร์ มรส. จัดประชุมวิพากษ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนากระบวนการยุติธรรม เตรียมความพร้อม ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโททางกระบวนการยุติธรรม
เมื่อวันที่16 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุมสำนักงานกิจการยุติธรรม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9 กรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพชร ขวัญใจสกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อัคคกร ไชยพงษ์ ประธานจัดทำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนากระบวนการยุติธรรม และคณะกรรมการจัดทำศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ได้จัดประชุมวิพากษ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนากระบวนการยุติธรรม โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่านร่วมวิพากษ์หลักสูตร ประกอบด้วย 1. ศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ 2. พันตำรวจโท ดร.พงษ์ธร ธัญญสิริ 3. ร้อยตำรวจโท ดร.อุทัย อาทิเวช 4. ดร.ธีร์รัฐ บุนนาค เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนากระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คณะนิติศาสตร์ มรส. เตรียมความพร้อมเขียน SAR สำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร
หัวข้อ รายละเอียด ชื่อโครงการ โครงการ: ดำเนินงานบริหารคณะนิติศาสตร์ กิจกรรม : การเขียนรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใจ (SAR) ระดับหลักสูตร ผู้รับผิดชอบ/คณะ/สาขาวิชา อาจารย์อภิชาติ โกศล อาจารย์สุนิสา หาบสา ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรวิไล อุ้ยดำรงธรรม นางสาวเพ็ญวดี ภักดีคำ นางสาวพนอมพรรณ ทัดทอง นางมยุเรศ แขสมบุญ ขอบเขต/พื้นทีศึกษา บุคลากรคณะนิติศาสตร์ 17 คน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ2. เพื่อจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรประจำปีการศึกษา 25643. เพื่อให้การดำเนินงานบริหารคณะนิติศาสตร์เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ แหล่งทุนสนับสนุน งบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย (นโยบายต่อเนื่อง) โครงการดำเนินงานบริหารคณะนิติศาสตร์ หน่วยงานที่ร่วมมือ บุคลากรคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้มีส่วนได้เสีย นักศึกษา และบุคลากรคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ระดับความร่วมมือ ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่ การนำไปใช้) บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร และจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรประจำปีการศึกษา 2564 เพื่อรับรองการตรวจประเมินคุณภาพต่อไป Web link อ้างอิงการดำเนินงาน […]
คณะนิติศาสตร์ มรส. ดำเนินการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานฝึกประสบการวิชาชีพของนักศึกษานิติศาสตร์ ที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางด้านกฎหมายในหน่วยงานราชการนอกพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ โรงแรมไฮแอท รีเจนซี เกาะสมุย ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ
13 พฤษภาคม 2565ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และ ดร.ณภัทร นาคสวัสดิ์ รองคณบดีศูนย์ฝึกประสอบการณ์วิชาชีพและพันธกิจสัมพันธ์ ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับโรงแรมไฮแอท รีเจนซี เกาะสมุย ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในหลักษณะร่วมผลิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการโรงแรม เพื่อให้บัณฑิตพร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน สามารถพัฒนาอาชีพในปัจจุบันและเตรียมพร้อมรองรับตำแหน่งงานในอนาคต #InternationalSchoolofTourism#SuratthaniRajabhatUniversity#HyattRegencyKohSamui ที่มา Facebook : nternational School of Tourism