โครงการศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถทางวิชาการทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติทักษะในงานด้านสาธารณสุขแบบองค์รวม ทำงานร่วมกับผู้อื่นในชุมชน ส่งเสริมสุขภาพและให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้ประกอบอาชีพ โดยนำหลักวิชาการจากที่เรียนในภาคทฤษฎีมาปรับใช้และบูรณาการงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์จริง จึงได้จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในรายวิชา SOH 0316 การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ สำหรับนักศึกษาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ชั้นปีที่ 3 โครงการศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ ในระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ แม่บ้านในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ปัญหาสุขภาพของคนทำงาน และเสริมสร้างทักษะในการทำงานด้านการวางแผน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำเวทีประชาคม การเขียนโครงการ การดำเนินงานโครงการ และการประเมินผลโครงการ ซึ่งเป็นการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นปณิธานสำคัญในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
ผู้รับผิดชอบ : หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ชั้นปีที่ 3 จำนวน 18 คน และแม่บ้านในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 32 คน
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการวางแผน เก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และดำเนินการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการสาธารณสุข
- เพื่อให้นักศึกษามีทักษะที่ถูกต้องในการส่งเสริมสุขภาพและให้บริการด้านสาธารณสุขในผู้ประกอบอาชีพ
จัดโครงการเมื่อวันที่ : ในระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2564
สถานที่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ :
ผลการดำเนินโครงการ พบว่า จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมทั้งหมด 53 คน จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมที่ตอบแบบสอบถาม 50 คน (คิดเป็นร้อยละ 94.34) ประกอบด้วย นักศึกษาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ชั้นปีที่ 3 มาเข้าร่วมโครงการและตอบแบบสอบถาม จำนวน 18 คน (คิดเป็นร้อยละ 100) และแม่บ้านในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มาเข้าร่วมโครงการและตอบแบบสอบถาม จำนวน 32 คน (คิดเป็นร้อยละ 91.42) โดยจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
จากการสำรวจปัญหาสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย คือ แม่บ้านในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยใช้แบบฟอร์มการประเมินสุขภาพคนทำงาน (Clinic DPAC) พบว่า ส่วนใหญ่แม่บ้านมีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอ้วน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 37.14 มีโรคประจำตัว 8 คน คิดเป็นร้อยละ 22.85 ประกอบด้วย เป็นโรคความดันมากโลหิตสูงที่สุด จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 11.42 ในขณะเดียวกันพฤติกรรมการออกกำลังกายมากที่สุด จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 62.86 แต่เป็นการออกกำลังกาย <3 วันต่อ / สัปดาห์ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 ซึ่งถือได้ว่าการออกกำลังกายยังไม่เพียงพอต่อปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น นักศึกษาจึงได้จัดลำดับปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการดำเนินการแก้ไขด้วยวิธีการส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธี “แกว่งแขนลดพุงลดโรคให้กลุ่มแม่บ้านที่มีปัญหาสุขภาพจากการทำงาน”