มรส.ร่วมรายการ “แหลงข่าวชาวใต้” ประเด็นเรื่อง “ถอดบทเรียนโครงการ U2T ชุมชนท้องถิ่นได้อะไร” ทางทีวีดิจิตอล NBT South

มรส.ร่วมรายการ “แหลงข่าวชาวใต้” ประเด็นเรื่อง “ถอดบทเรียนโครงการ U2T ชุมชนท้องถิ่นได้อะไร” ทางทีวีดิจิตอล NBT South

มรส.ร่วมรายการ “แหลงข่าวชาวใต้” ประเด็นเรื่อง “ถอดบทเรียนโครงการ U2T ชุมชนท้องถิ่นได้อะไร” ทางทีวีดิจิตอล NBT South

วันนี้(28 เม.ย.65)เวลา 08.55 น. ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ Project manager โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(U2T) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม อว.ส่วนหน้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมการสัมภาษณ์สดในรายการ “แหลงข่าวชาวใต้” ประเด็นเรื่อง “ถอดบทเรียนโครงการ U2T ชุมชนท้องถิ่นได้อะไร” ทางทีวีดิจิตอล NBT South ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT จังหวัดสุราษฎร์ธานี
:
ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ Project manager โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(U2T) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า การดำเนินงานโครงการ U2T ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ส่งผลให้ เกิดกระแสการเลือกกิน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน และยังเป็นการหล่อหลอมจิตสำนึกด้านการรับใช้ชุมชน ประชาชนในพื้นที่ดำเนินงานของวิศวกรสังคม เกิดความภาคภูมิใจในพื้นที่เพราะรู้สึกได้รับ ความสำคัญจากหน่วยงานภาครัฐและวิศวกรสังคม เกิดการจ้างงานในพื้นที่ก่อให้ประชาชนมีรายได้ ประชาชนมีความภาคภูมิใจและตระหนักในทรัพยากรและต้นทุนในมิติต่างๆ ของพื้นที่ ประชาชนในพื้นที่เกิดความภาคภูมิใจ เนื่องจากสามารถเข้าร่วมโครงการวิศวกรสังคมและได้ทำงานในพื้นที่ของตนเอง เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนและพื้นที่การจ้างงานของวิศวกรสังคม
:
ด้านผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม อว.ส่วนหน้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้มีการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมาใช้พัฒนาพื้นที่ เกิดการบูรณาการและแบ่งปันข้อมูลการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และวิศวกรสังคม อันนำไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในทิศทางเดียวกัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมของวิศวกรสังคม และมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของวิศวกรสังคม วิศวกรสังคมมีความภาคภูมิใจเมื่อได้ดำเนินกิจกรรมประสบความสำเร็จ และเกิดแนวคิดต่อยอดการดำเนินกิจกรรมในอนาคต เป็นการผสานองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างนักวิชาการและชาวบ้าน โดยมีวิศวกรสังคมเป็นตัวประสาน อันนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ วิศวกรสังคมได้นำองค์ความรู้ที่ตนเองมีมาร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ได้ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลแล้ว ขณะเดียวกันก็สามารถทำการเรียนการสอนนักศึกษาไปพร้อมกันในพื้นที่จริง
:
เทพพิทักษ์ ยศหมึก ข่าว
อดิสรณ์ เนาวโคอักษร/สิริวัฒนา น้อยดอนไพร ภาพ

#สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

https://www.facebook.com/ccd.sru.ac.th/photos/a.183378662183698/1365992927255593/