SDG 14

Jul
25

วสก.ร่วมพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์ทะเลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

25 กรกฎาคม 2567 ดร.ภานุมาศ สมจิต อาจารย์วัชรีญา ธรรมสอน และอาจารย์คัทลียา พงษ์พานิช คณาจารย์วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนายนิวัติ สุธีมีชัยกุล อดีตอธิบดีกรมประมง เป็นประธานในพิธี พร้อมส่งมอบพันธุ์สัตว์ทะเล ให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมปล่อยหอยมือเสือ ปลาตะกรับ และกุ้งแชบ๊วย ซึ่งเป็นการปล่อยผ่านสะพานน้ำไหลเพื่อปรับสภาพน้ำให้ลูกปลาลูกกุ้งก่อนลงสู่ทะเล หวังสร้างจิตสำนึกชุมชนช่วยกันพิทักษ์ปกป้องถิ่นเกิดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทะเลไทยส่งเสริมและคืนความสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งทะเลอ่าวไทยของเรา ส่งต่อให้คนรุ่นหลังอย่างยั่งยืน จัดโดย สำนักงานประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณเกาะเทียม หมู่ที่ 4 ตำบลมะเร็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 14
DETAIL
Jun
20

เครือข่ายท่องเที่ยวเกาะสมุยทดสอบเส้นทางเกาะพะลวย

19-20 มิถุนายน 2566ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ นำทีมไปเกาะพะลวย ซึ่งเกาะพะลวยนับเป็นเกาะบริวารของเกาะสมุย ระยะห่างจากเกาะสมุยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงโดยเรือสปีทโบ๊ท ถึงแม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์จะเป็นคนละเกาะกัน แต่ทางการปกครอง เกาะพะลวยถือเป็นส่วนหนึ่งของเกาะสมุย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 155 คน ส่วนหนึ่งของเกาะอยู่ในความดูแลของอุทธยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และที่เหลืออยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ เกาะพะลวยเป็นเกาะพลังงานสะอาด เพราะไม่มีไฟฟ้าใช้ ส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์ และใช้เครื่องปั่นไฟบ้าง ซึ่งการทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวเกาะพะลวยในครั้งนี้ ได้เชิญชวนการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย สำนักงานเกาะสมุย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และบริษัททัวส์ในพื้นที่ ไปเปิดเส้นทางให้เป็นทางเลือกใหม่กับนักท่องเที่ยวที่อาจจะไม่รู้จักที่นี่ หรืออาจจะไม่คุ้นให้เป็นทัวส์ทางเลือกก็ว่าได้ ด้วยภาระกิจสุดโหด แต่มันส์ที่สุด คือ การปืนเขาเขาค่างทัก ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูน เส้นทางนี้ผ่านทั้งป่าดิบชื้น ปื้นหน้าผา ผ่านถ้ำ ปีนถ้ำ เพื่อสะท้อนว่า หากหากจะนำนักท่องเที่ยวมาที่นี่ พื้นที่ตัองปรับอะไรบ้าง เพื่อให้เส้นทางสมบูรณ์แบบที่สุด

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 14 . SDG 17 . SDG 8
DETAIL
May
12

คณะครุศาสตร์ร่วมปลูกป่าชายเลนสร้างบ้านหลังแรกของสัตว์น้ำ และร่วมสืบสานการทำผ้าบาติกลายโบราณ

วันที่ 11 เมษายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรศักดิ์ แซ่โค้ว คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรคณะครุศาสตร์ ร่วมปลูกป่าชายเลนในกิจกรรมการจัดการความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) คณะครุศาสตร์ ประจำปีประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนจังหวัดกระบี่ เพื่อร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้คณะครุศาสตร์มีเป้าหมายขับเคลื่อนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน สำหรับกิจกรรมการปลูกป่าชายเลนในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างพื้นที่ป่าชายเลนในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์ นอกจากนี้ ในช่วงบ่าย คณะผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำผ้าลายบาติกโบราณ และร่วมกิจกรรม Work Shop ทำลายผ้าบาติกของคณะครุศาสตร์ เพื่อร่วมสืบสานภูมิปัญญาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ณ ดาหลาบาติก จังหวัดกระบี่ ซึ่งก่อตั้งโดยครูช่างศิลปหัตถกรรม ธนินทร์ธร รักษาวงศ์ ผู้ตัดสินใจชุบชีวิตลายบาติกโบราณของคุณยาย ซึ่งเคยทำโรงย้อมโสร่งยาวอที่จังหวัดนราธิวาสและเลิกกิจการไป ครูช่างธนินทร์ธรได้กลับไปเห็นเครื่องไม้เครื่องมือรวมทั้งลายผ้าโบราณที่คุณยายทิ้งไว้จึงตัดสินใจที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าชิ้นสำคัญของครอบครัวด้วยการเปิดกิจการโรงผ้าบาติกขึ้นในพื้นที่จังหวัดกระบี่

By คณะครุศาสตร์ | SDG 14 . SDG 15
DETAIL
Mar
20

คบว.สวพ.เร่งขยายพันธุ์”สาหร่ายข้อ” จัดทีมลงพื้นที่เกาะพะลวย

รวมพลคณะทำงานจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแพสำหรับเลี้ยงสาหร่ายข้อ หวังเป็นต้นพันธุ์ในการเพาะเลี้ยงเพื่อเก็บเกี่ยวเป็นวัตถุดิบขึ้นชื่อของชุมชนเกาะพะลวย 16 – 19 มีนาคม 2566 โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยคณะกรรมการดำเนินงานโครงการตามพระบรมราโชบาย จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังชุมชนเกาะพะลวย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแพสำหรับเลี้ยงสาหร่ายข้อ ซึ่งในระยะแรกคณะทำงานได้วางแผนการดำเนินงานโดยฝึกปฏิบัติให้ประชาชนในพื้นที่ทำโครงสร้างแพเลี้ยงสาหร่ายจากไม้ไผ่ และติดตั้งโครงสร้างแพเลี้ยงสาหร่ายในทะเล นอกจากนี้ได้มีการเก็บเกี่ยวสาหร่ายข้อเพื่อเป็นต้นพันธุ์ในการเพาะเลี้ยง จัดทำถุงตาขายและติดตัั้งสำหรับเลี้ยงกับโครงสร้างไม่ไผ่ คณะทำงานได้กล่าวว่าการเพาะเลี้ยงสาหร่ายข้อแบบแพเชือกจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยขยายพันธุ์ให้มีจำนวนมากขึ้น และมุ่งหวังให้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปอาหารและบรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆซึ่งคณะทำงานจะดำเนินการกำกับ ติดตาม ระยะการเจริญเติบโตของสาหร่ายข้อเพื่อการดำเนินงานในระยะที่ 3 ในไตรมาสที่ 3 ต่อไป

By โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น | SDG 14 . Uncategorized
DETAIL
Sep
18

กิจกรรมสร้างเครือข่ายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย ตามแนวคิด BCG Model เรื่อง การอนุรักษ์หญ้าทะเล

โครงการจัดตั้ง สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย ร่วมกิจกรรมสร้างเครือข่ายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย ตามแนวคิด BCG Model เรื่อง การอนุรักษ์หญ้าทะเล____________________เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565 คณะทำงานได้ลงพื้นที่ในการสำรวจพื้นที่หญ้าทะเลบนพื้นที่เกาะแตน และเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อหาแนวทางพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิด BCG Model และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของหญ้าทะเล ซึ่งหญ้าทะเลถือเป็นทรัพยากรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญมาก ในปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเล เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลและสัตว์น้ำ เศรษฐกิจ อันได้แก่ กุ้ง หอย ปู และปลา หญ้าทะเลยังเป็นอาหารสำคัญของพะยูนและเต่าทะเล เป็นแหล่งวางไข่ แหล่งอนุบาลตัวอ่อน และที่อยู่อาศัยของปลา กุ้ง หมึก ปูม้า หอยชนิดต่างๆ ไส้เดือนทะเล ตลอดจนสัตว์เล็กๆ นานาชนิด และเป็นแหล่งอาหาร แหล่งทำมาหากินที่สำคัญของชุมชนชายฝั่งทะเล ซึ่งเราพบหญ้าทะเลในพื้นที่เกาะสมุยและเกาะแตนหลักๆ มีจำนวน 5 ชนิดพันธุ์ ได้แก่ หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าใบมะกรูด หญ้าคาทะเล หญ้าต้นหอมทะเล หญ้าชะเงาเต่า โดยหน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ได้แก่ หน่วยงาน ททท.สำนักงานเกาะสมุย […]

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 14
DETAIL
Jun
29

สัปดาห์ส่งเสริมการอนุรักษ์พืชและสัตว์ทะเลท้องถิ่นเกาะสมุย

กิจกรรมงานสัปดาห์ส่งเสริมการอนุรักษ์พืชและสัตว์ทะเลท้องถิ่นเกาะสมุย โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2565 ณ วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเกาะสมุย มีนักเรียนในอำเภอเกาะสมุยเข้าร่วมกิจกรรม 8 โรงเรียน ได้เเก่โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์โรงเรียนวัดภูเขาทองโรงเรียนวัดบุณฑริการามโรงเรียนบ้านแหลมหอยโรงเรียนบ้านหน้าค่ายโรงเรียนบ้านบ่อผุดโรงเรียนเทศบาล 4 วัดคีรีมาสโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา มีกิจกรรมให้น้องๆเข้าร่วม ทั้งหมด 6 กิจกรรม ได้แก่กิจกรรมที่ 1 ภูมิศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์สัตว์ทะเลกิจกรรมที่ 2 อบรมการวาดภาพพืชและสัตว์ทะเลท้องถิ่นเกาะสมุยกับศิลปะบนกระเป๋าผ้ากิจกรรมที่ 3 อบรมคุกกี้รูปสัตว์ทะเลท้องถิ่นเกาะสมุยกิจกรรมที่ 4 อบรมภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพืชและสัตว์ทะเลท้องถิ่นเกาะสมุยกิจกรรมที่ 5 อบรมการวาดภาพระบายสีโปสการ์ดพืชและสัตว์ทะเลท้องถิ่นด้วยสีไม้กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมสันทนาการ กิจกกรรมดังจัดขึ้นจากการรวบรวมพืชและสัตว์ทะเลท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนทางอาหารและการท่องเที่ยว โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(อพ.ส6.) เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายให้เยาวชนและประชาชนเกาะสมุย ได้ทบทวนทรัพยากรและภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ที่จะนำไปสู่แนวทางในการพึ่งพาตนเอง ตระหนักเห็นคุณค่าและหวงแหนทรัพยากรที่กำลังจะสูญหายไป ภูมิปัญญาอาชีพประมงพื้นบ้านสะท้อนความสมบูรณ์ของทะเลเกาะสมุย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อการเพิ่ม ลด หรือ สูญหายไป การทำความเข้าใจ ร่วมหาแนวทางที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์ หรือการส่งเสริมความยั่งยืนทางอาหารเป็นสิ่งสำคัญ นิทรรศการสัตว์และพีชทะเลท้องถิ่นเกาะสมุย ได้นำเสนอเรื่องราวของสัตว์และพืชที่พบเจอได้ในทะเล จากการสำรวจและการบอกเล่าของชาวประมงที่ดำรงอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง […]

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 14
DETAIL
May
18

SRU EDU Members release sea turtles into the sea

On 18th May, 2022, Assistant Professor Dr. Jirasak Saekhow, the Dean of Faculty of Education, Suratthani Rajabhat University, with faculty members, visited the Royal Thai Navy Sea Turtle Conservation Center Phang-Nga, Navy Division 3, and had an opportunity to meet Lieutenant Commander Yutthana Bubpha, the Commander of Security and Counter Intelligence Division, Phang-Nga Navy Base, […]

By คณะครุศาสตร์ | SDG 14 . กิจกรรม . ข่าว SDGs
DETAIL
Apr
01

ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มรส. รับรางวัลเหรียญทองระดับประเทศ “Green Youth พัฒนาสิ่งแวดล้อม สู่มหาวิทยาลัยสีเขียวยกระดับสู่สากล”

วันที่ 28 มีนาคม 2565 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) จัดงานมอบรางวัลผลการดำเนินโครงการกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2563 แก่มหาวิทยาลัยที่ผ่านการประเมินโครงการฯ เพื่อเตรียมความพร้อมมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ในระดับสากล โดยปีนี้มีการประเมินโครงการ Green Youth ใน 4 ด้าน ได้แก่ การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการของเสีย การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการจัดการพลังงาน นายเฉลิมชัย ปาปะทา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นประธานมอบโล่เชิดชูเกียรติให้กับมหาวิทยาลัย ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานประเมินโครงการ Green Youth ประจำปี 2563 จำนวน 52 แห่ง โดยแบ่งเป็นระดับทอง 12 แห่ง ระดับเงิน 16 แห่ง และระดับทองแดง จำนวน 24 แห่ง ในการนี้ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) […]

By กองพัฒนานักศึกษา | SDG 12 . SDG 13 . SDG 14 . SDG 15 . SDG 7 . กิจกรรม
DETAIL

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (SURATTHANI RAJABHAT UNIVERSITY)

272 ถ. สุราษฎร์-นาสาร ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100
โทรศัพท์ : 077 913333 โทรสาร : 077 913348
อีเมล์ : info@sru.ac.th

มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินด้วยภูมิปัญญาให้เป็นพลัง ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

TOP