Archives for June, 2023

Jun
20

เครือข่ายท่องเที่ยวเกาะสมุยทดสอบเส้นทางเกาะพะลวย

19-20 มิถุนายน 2566ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ นำทีมไปเกาะพะลวย ซึ่งเกาะพะลวยนับเป็นเกาะบริวารของเกาะสมุย ระยะห่างจากเกาะสมุยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงโดยเรือสปีทโบ๊ท ถึงแม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์จะเป็นคนละเกาะกัน แต่ทางการปกครอง เกาะพะลวยถือเป็นส่วนหนึ่งของเกาะสมุย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 155 คน ส่วนหนึ่งของเกาะอยู่ในความดูแลของอุทธยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และที่เหลืออยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ เกาะพะลวยเป็นเกาะพลังงานสะอาด เพราะไม่มีไฟฟ้าใช้ ส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์ และใช้เครื่องปั่นไฟบ้าง ซึ่งการทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวเกาะพะลวยในครั้งนี้ ได้เชิญชวนการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย สำนักงานเกาะสมุย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และบริษัททัวส์ในพื้นที่ ไปเปิดเส้นทางให้เป็นทางเลือกใหม่กับนักท่องเที่ยวที่อาจจะไม่รู้จักที่นี่ หรืออาจจะไม่คุ้นให้เป็นทัวส์ทางเลือกก็ว่าได้ ด้วยภาระกิจสุดโหด แต่มันส์ที่สุด คือ การปืนเขาเขาค่างทัก ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูน เส้นทางนี้ผ่านทั้งป่าดิบชื้น ปื้นหน้าผา ผ่านถ้ำ ปีนถ้ำ เพื่อสะท้อนว่า หากหากจะนำนักท่องเที่ยวมาที่นี่ พื้นที่ตัองปรับอะไรบ้าง เพื่อให้เส้นทางสมบูรณ์แบบที่สุด

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 14 . SDG 17 . SDG 8
DETAIL
Jun
19

สำนักจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประชาสัมพันธ์จุดบริการ รับ-ส่ง ภายในมหาวิทยาลัย โดยใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (SRU ECO)

ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ตระหนักถึงสถานการณ์การใช้พลังงานในภาคขนส่ง จึงได้วางแผนอนุรักษ์พลังงานมาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงาน ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่ส่งเสริมให้เกิดการประหยัดพลังงานในภาคขนส่ง คือ การนำ ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ (electric vehicle : EV) มาใช้แทนยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ โดยกำหนดเส้นทาง และระยะเวลาการเดินรถรับ-ส่ง ดังนี้ กฎระเบียบการใช้รถบริการรับ-ส่ง ภายในมหาวิทยาลัย​ (SRU ECO)***** กรุณาให้รถจอดสนิท ก่อนขึ้น​ – ลง ทุกครั้ง ขึ้น​ – ลงทางซ้ายมือ และให้คนลงจากรถ ก่อนที่จะขึ้น ไม่ยื่นมือหรือศีรษะออกนอกรถไม่เล่นหรือ โหนเพราะอาจเกิดอันตรายได้ ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพต่อพนักงานขับรถ โปรดช่วยกันรักษาความสะอาด จำนวนผู้โดยสาร – รถ ECO (สีขาว) ไม่เกิน 14 ที่นั่งต่อครั้ง – รถ EV (สีม่วง) ไม่เกิน 10-12 ที่นั่งต่อครั้ง หากที่นั่งเต็มในแต่ละคัน ขอความกรุณาให้รอรถคันถัดไป7. รถคันนี้ควบคุมความเร็ว ไม่เกิน 40 กม./ชม.8. กรุณาตรวจดูทรัพย์สินของท่านทุกครั้ง ก่อนลงจากรถ9. กรุณาลงจากรถในจุดบริการ […]

By สำนักจัดการทรัพย์สิน | SDG 7
DETAIL
Jun
18

เครือข่ายสมุยสีเขียวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

วันที่ 17-18 มิ.ย.2566 มูลนิธิภาคใต้สีเขียว ร่วมกับ บ้านบูมบ๊อกซ์รีสอร์ท และบริษัทเก็บตะวัน จัดกิจกรรมอบรมพลังงานสีเขียว เพื่อเกาะสมุยสีเขียว เพื่อแลกเปลี่ยนการจัดการดิน น้ำ ลม ไฟ บนพื้นที่เกาะในแนวทางรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน ในช่วงเสวนาแลกเปลี่ยน “พลังงานสีเขียว เพื่อร่วมสร้างงโลกคาร์บอนต่ำ” นายนลวัชร์ ขุนลา ได้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนแนวทางการดูแลดินโดยการลดละเลิกการใช้สารเคมีการเกษตรหันมาใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ที่ได้น้ำหมักชีวภาพจากเครื่อง CAWTEC ซึ่งยังมีส่วนช่วยในการลดขยะอาหารของเกาะสมุย โดยต้นแบบของโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยรายภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งการทำงานของเครื่อง CAWTEC ยังสามารถผลิตเเก๊ส นำไปใช้ในการทำอาหารได้อีกด้วย พลังงานสีเขียว #ภาคใต้สีเขียว #เกาะสมุยสีเขียว #greenenergy #wasteenergy

By วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย | SDG 2 . SDG 7
DETAIL
Jun
08

สวพ.ร่วมประชุมพิจารณาร่างหลักสูตรนักสร้างสุของค์กรสุขภาวะ เครือข่ายราชภัฏกลุ่มภาคใต้

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมประชุมพิจารณาร่างหลักสูตรนักสร้างสุของค์กรสุขภาวะ เครือข่ายราชภัฏกลุ่มภาคใต้ จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ภายใต้โครงการ “สร้าง เสริม สุข” มหาวิทยาลัยราชภัฏไปสู่สังคมสุขภาวะ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมดำเนินงานกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของการดำเนินงานมีความจำเป็นจะต้องร่วมกันจัดทำหลักสูตรนักสร้างสุของค์กรสุขภาวะ (Happy Work Balance, Happy of Life & Learn, Happy Quality of Life) จำนวน 3 ชุด เพื่อใช้ในการจัดอบรมให้กับนักสร้งสุขกลุ่มเป้าหมายอาจารย์ เจ้าหน้าที่ […]

By สถาบันวิจัยและพัฒนา | SDG 8
DETAIL
Jun
08

“พลังงานสีเขียวเพื่อภาคใต้สีเขียว” (EP1)

ชวนติดตาม…รูปธรรมการใช้พลังงานสีเขียว พลังงานจากธรรมชาติ ที่ไม่สร้างผลกระทบต่อการทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำร้ายสุขภาพ สู่แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานไทย ให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด เพื่อความมั่นคงทางพลังงานควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน #ภาคใต้สีเขียว#พลังงานสีเขียว#greenenergy#สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี#มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างวิศวกรสังคม#ร่วมคิด_ร่วมทำ_ร่วมเเบ่งปัน_ร่วมภาคภูมิใจ หัวข้อ รายละเอียด ชื่อโครการ พลังงานสีเขียวเพื่อภาคใต้สีเขียว” (EP1) ผู้รับผิดชอบ/คณะ/สาขาวิชา สถาบันวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์ ชวนติดตาม…รูปธรรมการใช้พลังงานสีเขียว พลังงานจากธรรมชาติที่ไม่สร้างผลกระทบต่อการทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำร้ายสุขภาพ สู่แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานไทย ให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด เพื่อความมั่นคงทางพลังงานควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระดับความร่วมมือ มูลนิธิภาคใต้สีเขียว Web link อ้างอิงการดำเนินงาน “พลังงานสีเขียวเพื่อภาคใต้สีเขียว” SDGs Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ SDG7

By สถาบันวิจัยและพัฒนา | SDG 7
DETAIL

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (SURATTHANI RAJABHAT UNIVERSITY)

272 ถ. สุราษฎร์-นาสาร ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100
โทรศัพท์ : 077 913333 โทรสาร : 077 913348
อีเมล์ : info@sru.ac.th

มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินด้วยภูมิปัญญาให้เป็นพลัง ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

TOP