สวพ.เข้าร่วมประชุม “คณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด”
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 (13.30-15.30 น.) ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้ ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมการประชุม “คณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด” ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ชั้น 5) อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ มาเป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้รับเกียรติจากทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ทสจ.) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อบก. เพื่อว่าจ้างคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป หัวข้อ รายละเอียด ชื่อโครการ ประชุม “คณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด” ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2566 ผู้รับผิดชอบ/คณะ/สาขาวิชา สถาบันวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้รับเกียรติจากทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ทสจ.) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก […]
มรภ.สุราษฎร์ธานี-เทศบาลตำบลขุนทะเล แถลงข่าวยกผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพสร้างรายได้สู่ท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ณ พื้นที่แหล่งเรียนรู้ประมงพื้นบ้านเพื่อการอนุรักษ์บึงขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มรส. มอบหมายให้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม เป็นผู้ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการจัดการขยะอินทรีย์ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับเทศบาลตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ นายทัพชนะ มะลิเผือก นายกเทศมนตรีตำบลขุนทะเล Mr. Renaud Meyer, Resident Representative, United Nations Development Programme (UNDP) (ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย) และคุณสายใจ มงคลเจริญ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตสุราษฎร์ธานี 1 ในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาผลิตก๊าซชีวภาพและปุ๋ยหมัก ยกผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพ สร้างรายได้สู่ท้องถิ่น.โดยการบริหารจัดการขยะอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ : สถานีที่ตอบสนองต่อ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG Station)” ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) […]
สวพ. ร่วมขับเคลื่อนพัฒนาประชากรตามแผนฯ 13 และอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมไดมอนด์ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มอบหมายให้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม และ ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในการประชุมเรื่อง “ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประชากรภายใต้ทิศทางการพัฒนาของแผนฯ 13” ซึ่งจัดโดย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกจากนั้น ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช ได้เข้าร่วมการประชุมเรื่อง “การทบทวนแผนยุทธศาสตร์ และจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” ณ ห้องท่าวัง ชั้น 2 โรงแรมวังใต้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย หัวข้อ รายละเอียด ชื่อโครการ ขับเคลื่อนพัฒนาประชากร ภายใต้ทิศทางการพัฒนาของแผนฯ 13 และทบทวนแผนยุทธศาสตร์ และจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประจำปีงบประมาณ 2566 […]
คบว.สวพ.เร่งขยายพันธุ์”สาหร่ายข้อ” จัดทีมลงพื้นที่เกาะพะลวย
รวมพลคณะทำงานจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแพสำหรับเลี้ยงสาหร่ายข้อ หวังเป็นต้นพันธุ์ในการเพาะเลี้ยงเพื่อเก็บเกี่ยวเป็นวัตถุดิบขึ้นชื่อของชุมชนเกาะพะลวย 16 – 19 มีนาคม 2566 โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยคณะกรรมการดำเนินงานโครงการตามพระบรมราโชบาย จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังชุมชนเกาะพะลวย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแพสำหรับเลี้ยงสาหร่ายข้อ ซึ่งในระยะแรกคณะทำงานได้วางแผนการดำเนินงานโดยฝึกปฏิบัติให้ประชาชนในพื้นที่ทำโครงสร้างแพเลี้ยงสาหร่ายจากไม้ไผ่ และติดตั้งโครงสร้างแพเลี้ยงสาหร่ายในทะเล นอกจากนี้ได้มีการเก็บเกี่ยวสาหร่ายข้อเพื่อเป็นต้นพันธุ์ในการเพาะเลี้ยง จัดทำถุงตาขายและติดตัั้งสำหรับเลี้ยงกับโครงสร้างไม่ไผ่ คณะทำงานได้กล่าวว่าการเพาะเลี้ยงสาหร่ายข้อแบบแพเชือกจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยขยายพันธุ์ให้มีจำนวนมากขึ้น และมุ่งหวังให้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปอาหารและบรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆซึ่งคณะทำงานจะดำเนินการกำกับ ติดตาม ระยะการเจริญเติบโตของสาหร่ายข้อเพื่อการดำเนินงานในระยะที่ 3 ในไตรมาสที่ 3 ต่อไป
คบว.สวพ. speed up ไตรมาส 2 ผลักดัน! การท่องเที่ยว “เกาะพะลวย” ด้วยภาษาอังกฤษ
มุ่งพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในชุมชน ในการใช้ประโยคและคำศัพท์ที่ถูกต้อง เพื่อการบริการด้านการท่องเที่ยว 16 – 19 มีนาคม 2566 โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการลงพื้นที่เกาะพะลวย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยคณะกรรมการโครงการตามพระบรมราโชบาย จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสำรวจปัญหา ความต้องการความรู้ภาษาอังกฤษจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ด้านการนวด) กลุ่มร้านค้า กลุ่มธุรกิจที่พักโฮมสเตย์ และสำรวจวิถีชีวิตและ บริบทชุมชน สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อสร้างชุดความรู้ทางภาษาอังกฤษด้วยการใช้ประโยคและคำศัพท์ที่ถูกต้อง พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus Group) สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ให้บริการด้านการนวด กลุ่มผู้ให้บริการเรือโดยสาร กลุ่มร้านค้าชุมชน กลุ่มธุรกิจโฮมสเตย์ ทดสอบศักยภาพการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนเรียน (General Proficiency Test) และใช้แบบทดสอบวินิจฉัย (Diagnostic Test) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดเตรียมเอกสารข้อมูลในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งต่อไป
คบว.สวพ. ขับเคลื่อนการดำเนินงานไตรมาส 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติเสริมสร้างสุขภาพเกษตรกรแบบครบวงจร “บ้านห้วยเสียด”
มุ่งสร้างสมรรถนะด้านการดูแลสุขภาพตนเองของเกษตรกร และการมีปฏิสัมพันธ์ภายในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสํารวจการปนเปื้อนสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ 18 -19 มีนาคม 2566 โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการนวดยาตามแนวกล้ามเนื้อรยางค์บน รยางค์ล่าง แกนกลางลำตัวที่ปวด/บาดเจ็บอย่างถูกต้อง เรียนรู้วิธีการดูแลตัวเอง ร่วมกับการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพโดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ และตรวจการปนเปื้อนของสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ ณ ศาลาเอนกประสงค์ ชุมชนบ้านห้วยเสียด อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการบูรณาการเสริมสร้างสุขภาพเกษตรกรแบบครบวงจร “บ้านห้วยเสียด” โดยคณะกรรมการดำเนินโครงการจากคณะวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี นำโดยอาจารย์ปานชนม์ โชคประสิทธิ์ และคณะ ทั้งนี้ กิจกรรมในการอบรมเชิงปฏิบัติการได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ ด้วยการยืดกล้ามเนื้อด้วยยางยืด และท่ากายบริการลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ทำอาหารสุขภาพ และน้ำสมุนไพรป้องกันโรคต่างๆ พร้อมทั้งนวดยาและทำลูกประคบร้อนตามแนวกล้ามเนื้อรยางค์บน รยางค์ล่าง และแกนกลางลําตัวที่ปวดอย่างถูกต้องเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเอง ซึ่งจากการสัมภาษณ์ชุมชนและกลุ่มแม่บ้านได้กล่าวว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวเป็นความรู้ที่นำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวันและสามารถฝึกปฏิบัติลดความเจ็บปวด คลายกล้ามเนื้อได้ในเบื้องต้น เพราะทุกครัวเรือนต้องออกไปทำงานทำไร่ ทำสวนเป็นกิจวัตรประจำวัน ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อย และกล้ามเนื้ออ่อนล้า การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวจึงทำให้ประชาชนทั้งกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้านได้ผ่อนคลายปรับร่างกายทุกส่วนให้มีความสมดุลรู้สึกสบายตัวและเป็นการแก้ไขปํญหาสุขภาพทางเลือกเบื้องต้นที่ดีมาก
“คลินิก ITA 2566”
16 มีนาคม 2566 | 08:30-16:30 น. . งานประกันคุณภาพการศึกษา จัดกิจกรรม “คลินิก ITA 2566” เพื่อ >> ให้คำปรึกษาและติดตามการดำเนินงานตามแบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการทำงาน จัดเตรียมลิงก์เอกสาร/หลักฐาน เพื่อรับการประเมินในระบบ ITAS . ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี
บริหารจัดการน้ำจากแหล่งธรรมชาติในการอุปโภคบริโภค
โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเกาะสมุย ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ได้มีการตรวจสอบตัวอย่างน้ำฝนในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จากผลการตรวจสอบพบว่า มีระดับคุณภาพผ่านเกณฑ์ น้ำฝนเป็นแหล่งน้ำที่เกิดจากธรรมชาติ ที่มีปริมาณมากเพียงพอต่อการนำมาผลิตน้ำดื่ม-ใช้ในครัวเรือน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้มีการติดตั้งชุดเครื่องกรองน้ำฝน เพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยในการขจัดสารปนเปื้อนที่มากับน้ำ ทำให้สามารถใช้น้ำฝนในการอุปโภคบริโภค ลดต้นทุนการใช้น้ำที่ผลิตจากประปาส่วนภูมิภาคได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นโมเดลการบริหารจัดการน้ำจากแหล่งธรรมชาติให้แก่หน่วยงาน องค์กร สถานประกอบการในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย ในด้าน Sustainable Development Goals–SDGs หรือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ได้อีกด้วย
สำนักงาน ป.ป.ช. จัดเก็บข้อมูล EIT มรส.
8 มีนาคม 2566 | 13.00 น. . สำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมกับ งานประกันคุณภาพการศึกษา จัดเก็บข้อมูลการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) สำหรับการประเมิน ITA ผ่านระบบ Video Conferencing Webex . ประกอบด้วย นักศึกษาปัจจุบัน จำนวน 40 คน ผู้ประกอบการ ร้านค้าคู่สัญญา จำนวน 10 คน . ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี #EIT #ITA_SRU #50ปีมรส.
สำนักวิทยบริการฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ตชด.
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ตชด. หลักสูตร “การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบ Metaverse Spatial”
การจัดการขยะเปียกต้นทาง ด้วยเครื่องแปรรูปขยะชีวมวล (Bio Digester)
2 มีนาคม 2565 โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเทศบาลนครเกาะสมุย จัดประชุมขยายผลด้านการจัดการขยะเปียกต้นทาง ด้วยเครื่องแปรรูปขยะชีวมวล (Bio Digester) โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการผลิต และจัดตั้งไว้ ณ โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรับขยะเปียก โดยเครื่องนี้สามารถรองรับขยะเปียกได้ 1.2 ตัน/วัน และแปรรูปด้วยกระบวนการแยกน้ำออกจากเนื้อสาร จากการย่อยสลายให้กลายสภาพเป็นสารปรับปรุงดิน และน้ำ EM ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และประชาชน ในอำเภอเกาะสมุย เข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมกันวางแผนการจัดการขยะเศษอาหารร่วมกันในเกาะสมุย ลดปัญหาขยะเศษอาหาร และช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างเมืองสมุยให้เป็นเมืองที่สะอาด และน่าอยู่ มากยิ่งขึ้น ณ ห้องประชุมละไม ชั้น 2 โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คบว.สวพ. ขับเคลื่อนงานพื้นที่เกาะพะลวยยกระดับมาตรฐานบรรจุภัณฑ์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสาหร่ายข้
เมื่อเวลา 10.00 น. ( 28 กุมภาพันธ์ 2566) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยคณะกรรมการดำเนินงานในพื้นที่เกาะพะลวยจาก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังเกาะพะลวยเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการระบบการผลิตและรูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางสาหร่ายข้อ โครงการยกระดับมาตรฐานบรรจุภัณฑ์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสาหร่ายข้อ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเกาะพะลวย ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี ระหว่างวันที่ 1 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2566 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผสมสารสกัดสาหร่ายข้อ ทั้งนี้ มุ่งหวังว่าประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวสามารถนำความรู้ที่ได้รับการอบรมนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปเครื่องสำอางจากสาหร่ายข้อต่อไป