อาจารย์เชฟลงพื้นที่อัพสกิลสตรี เสริมสร้างรายได้ จากสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี นำไข่เค็มสินค้าภูมิปัญญาเฉพาะอัตลักษณ์ท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพกลุ่มสตรีในพื้นที่ผ่านหลักสูตรการประกอบอาหารจากไข่เค็มทั้งคาวหวาน มุ่งสร้างได้และพัฒนาสู่ผู้ประกอบการรายใหม่ โดย ดร.ณภัทร นาคสวัสดิ์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยและอาหารนานาชาติ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในโครงการดังกล่าว เปิดโอกาสให้กลุ่มสตรีพัฒนาศักยภาพของตนเอง เข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ มีความสามารถในการพัฒนาเพื่อประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ใหม่ ซึ่งได้นำไข่เค็มสินค้าจากภูมิปัญญาเฉพาะซึ่งเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาเป็นหลักสูตรการประกอบอาหารจากไข่เค็ม ระยะเวลาฝึก 30 ชั่วโมง โดยดำเนินการฝึกอบรม รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 20 – 23 พฤศจิกายน 2566 ณ วัดใหม่ลานทะเล อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กิจกรรมอบรมทำความเข้าใจทำความรู้จักเกษตรอินทรีย์และการรับรองความเป็นเกษตรอินทรีย์
วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว พร้อมด้วย บุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมอบรมทำความเข้าใจทำความรู้จักเกษตรอินทรีย์และการรับรองความเป็นเกษตรอินทรีย์ เทคนิคการทำเกษตรอินทรีย์ การผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อย่างถูกต้องร่วมกัน จัดโดย สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ณ สวนนายแดง ต.หน้าเมือง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี กิจกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เชื่อมโยงเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค บนห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ ตอบโจทย์ปัญหา เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพสุราษฎร์ธานี ซึ่งโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มีเครื่อง COW TEC และ เครื่อง Bio Digester ที่สามารถผลิตน้ำ EM ที่มีคุณภาพ และสารปรับปรุงดินคุณภาพสูง เพื่อทางมหาวิทยาลัยได้นำออกสู่ชุมชนต่อไป
คณะพยาบาลศาสตร์จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประจำปี 2566
วันที่ 26 สิงหาคม 2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด่านสวี นำโดยนางพรชนัน ตันติธัญญากร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพรจัดอบรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามโครงการสร้างเสริมสุขภาพ กินถูกโรค ออกกำลังถูกใจ ห่างไกลโรคเบาหวาน – ความดัน ประจำปี 2566โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษณา สังขมุณีจินดา และอาจารย์เกศรา ตั้นเซ่ง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นวิทยากรบรรยาย ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 62 คน
ประชุมติดตามและประเมินผลรายงานฉบับสมบูรณ์ (Bio digester)
17 สิงหาคม 2566 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ร่วมกับ ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และนายวรุณ วารัญญานนท์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมติดตามและประเมินผลรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ การบริหารจัดการขยะอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนเกาะสมุยและเป็นชุมชนต้นแบบด้านความมั่นคงด้านอาหาร ภายใต้แผนงานวิจัย ความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมี คุณสุภิญญา ศรีทองกุล รองนายกเทศบาลนครเกาะสมุย เป็นประธาน ในการประชุมผู้วิจัยได้สรุปผลรายงานการดำเนินงานในการทดลองใช้งานเครื่อง Bio Digester ในการบริหารจัดการขยะอาหารในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีชุมชมและสถานประกอบการในอำเภอเกาะสมุยเข้าร่วมรับฟังการรายผลในครั้งนี้ #BioDigester #บริหารจัดการขยะ#เกาะสมุย
ประชุมรายงานความก้าวหน้า โครงการ Coconut upcycling: wood alternative material
10 สิงหาคม 2566 เอ็มเทค ร่วมกับ โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ต่อยอดการจัดการขยะเปลือกมะพร้าวเกาะสมุย โดยทาง คณะทำงานจาก..ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้า ในการออกแบบเครื่อง Shredder machine สำหรับบดขยะเปลือกมะพร้าวเกาะสมุย และขึ้นรูปเป็นวัสดุทดแทนไม้ เพื่อตอบโจทย์นโยบาย Low Carbon มุ่งเน้นการใช้กรีนโปรดักมากขึ้น ซึ่งโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย ได้จัดเตรียมโรงเรือนสำหรับจัดตั้ง Shredder machine เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการช่วยลดปัญหาขยะเปลือกมะพร้าวเกาะสมุย อีกทั้งยังสามารถสร้าง Product เช่น ถาดวางแก้ว ซึ่งโรงแรมทุกแห่งบนเกาะสมุย จำเป็นต้องมีถาดสำหรับเสิร์ฟ Welcome Drink ยังเป็นการลดทุนในการซื้อถาดไม้ได้อีกด้วย
เครือข่ายท่องเที่ยวเกาะสมุยทดสอบเส้นทางเกาะพะลวย
19-20 มิถุนายน 2566ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ นำทีมไปเกาะพะลวย ซึ่งเกาะพะลวยนับเป็นเกาะบริวารของเกาะสมุย ระยะห่างจากเกาะสมุยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงโดยเรือสปีทโบ๊ท ถึงแม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์จะเป็นคนละเกาะกัน แต่ทางการปกครอง เกาะพะลวยถือเป็นส่วนหนึ่งของเกาะสมุย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 155 คน ส่วนหนึ่งของเกาะอยู่ในความดูแลของอุทธยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และที่เหลืออยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ เกาะพะลวยเป็นเกาะพลังงานสะอาด เพราะไม่มีไฟฟ้าใช้ ส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์ และใช้เครื่องปั่นไฟบ้าง ซึ่งการทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวเกาะพะลวยในครั้งนี้ ได้เชิญชวนการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย สำนักงานเกาะสมุย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และบริษัททัวส์ในพื้นที่ ไปเปิดเส้นทางให้เป็นทางเลือกใหม่กับนักท่องเที่ยวที่อาจจะไม่รู้จักที่นี่ หรืออาจจะไม่คุ้นให้เป็นทัวส์ทางเลือกก็ว่าได้ ด้วยภาระกิจสุดโหด แต่มันส์ที่สุด คือ การปืนเขาเขาค่างทัก ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูน เส้นทางนี้ผ่านทั้งป่าดิบชื้น ปื้นหน้าผา ผ่านถ้ำ ปีนถ้ำ เพื่อสะท้อนว่า หากหากจะนำนักท่องเที่ยวมาที่นี่ พื้นที่ตัองปรับอะไรบ้าง เพื่อให้เส้นทางสมบูรณ์แบบที่สุด
สำนักจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประชาสัมพันธ์จุดบริการ รับ-ส่ง ภายในมหาวิทยาลัย โดยใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (SRU ECO)
ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ตระหนักถึงสถานการณ์การใช้พลังงานในภาคขนส่ง จึงได้วางแผนอนุรักษ์พลังงานมาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงาน ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่ส่งเสริมให้เกิดการประหยัดพลังงานในภาคขนส่ง คือ การนำ ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ (electric vehicle : EV) มาใช้แทนยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ โดยกำหนดเส้นทาง และระยะเวลาการเดินรถรับ-ส่ง ดังนี้ กฎระเบียบการใช้รถบริการรับ-ส่ง ภายในมหาวิทยาลัย (SRU ECO)***** กรุณาให้รถจอดสนิท ก่อนขึ้น – ลง ทุกครั้ง ขึ้น – ลงทางซ้ายมือ และให้คนลงจากรถ ก่อนที่จะขึ้น ไม่ยื่นมือหรือศีรษะออกนอกรถไม่เล่นหรือ โหนเพราะอาจเกิดอันตรายได้ ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพต่อพนักงานขับรถ โปรดช่วยกันรักษาความสะอาด จำนวนผู้โดยสาร – รถ ECO (สีขาว) ไม่เกิน 14 ที่นั่งต่อครั้ง – รถ EV (สีม่วง) ไม่เกิน 10-12 ที่นั่งต่อครั้ง หากที่นั่งเต็มในแต่ละคัน ขอความกรุณาให้รอรถคันถัดไป7. รถคันนี้ควบคุมความเร็ว ไม่เกิน 40 กม./ชม.8. กรุณาตรวจดูทรัพย์สินของท่านทุกครั้ง ก่อนลงจากรถ9. กรุณาลงจากรถในจุดบริการ […]
เครือข่ายสมุยสีเขียวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
วันที่ 17-18 มิ.ย.2566 มูลนิธิภาคใต้สีเขียว ร่วมกับ บ้านบูมบ๊อกซ์รีสอร์ท และบริษัทเก็บตะวัน จัดกิจกรรมอบรมพลังงานสีเขียว เพื่อเกาะสมุยสีเขียว เพื่อแลกเปลี่ยนการจัดการดิน น้ำ ลม ไฟ บนพื้นที่เกาะในแนวทางรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน ในช่วงเสวนาแลกเปลี่ยน “พลังงานสีเขียว เพื่อร่วมสร้างงโลกคาร์บอนต่ำ” นายนลวัชร์ ขุนลา ได้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนแนวทางการดูแลดินโดยการลดละเลิกการใช้สารเคมีการเกษตรหันมาใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ที่ได้น้ำหมักชีวภาพจากเครื่อง CAWTEC ซึ่งยังมีส่วนช่วยในการลดขยะอาหารของเกาะสมุย โดยต้นแบบของโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยรายภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งการทำงานของเครื่อง CAWTEC ยังสามารถผลิตเเก๊ส นำไปใช้ในการทำอาหารได้อีกด้วย พลังงานสีเขียว #ภาคใต้สีเขียว #เกาะสมุยสีเขียว #greenenergy #wasteenergy
มรส. เปิดตัวรถรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดตัวรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า จำนวน 6 คัน พร้อมให้บริการนักศึกษา บุคลากร ครอบคลุมพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นการปรับปรุงการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม และเป็นการลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว โดยจะให้บริการ รับ-ส่ง นักศึกษา บุคลากร ในวัน จันทร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 7.30-17.00 น. ตามจุดจอดรถที่มหาวิทยาลัยกำหนด
สวพ.ร่วมประชุมพิจารณาร่างหลักสูตรนักสร้างสุของค์กรสุขภาวะ เครือข่ายราชภัฏกลุ่มภาคใต้
วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมประชุมพิจารณาร่างหลักสูตรนักสร้างสุของค์กรสุขภาวะ เครือข่ายราชภัฏกลุ่มภาคใต้ จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ภายใต้โครงการ “สร้าง เสริม สุข” มหาวิทยาลัยราชภัฏไปสู่สังคมสุขภาวะ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมดำเนินงานกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของการดำเนินงานมีความจำเป็นจะต้องร่วมกันจัดทำหลักสูตรนักสร้างสุของค์กรสุขภาวะ (Happy Work Balance, Happy of Life & Learn, Happy Quality of Life) จำนวน 3 ชุด เพื่อใช้ในการจัดอบรมให้กับนักสร้งสุขกลุ่มเป้าหมายอาจารย์ เจ้าหน้าที่ […]
“พลังงานสีเขียวเพื่อภาคใต้สีเขียว” (EP1)
ชวนติดตาม…รูปธรรมการใช้พลังงานสีเขียว พลังงานจากธรรมชาติ ที่ไม่สร้างผลกระทบต่อการทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำร้ายสุขภาพ สู่แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานไทย ให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด เพื่อความมั่นคงทางพลังงานควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน #ภาคใต้สีเขียว#พลังงานสีเขียว#greenenergy#สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี#มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างวิศวกรสังคม#ร่วมคิด_ร่วมทำ_ร่วมเเบ่งปัน_ร่วมภาคภูมิใจ หัวข้อ รายละเอียด ชื่อโครการ พลังงานสีเขียวเพื่อภาคใต้สีเขียว” (EP1) ผู้รับผิดชอบ/คณะ/สาขาวิชา สถาบันวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์ ชวนติดตาม…รูปธรรมการใช้พลังงานสีเขียว พลังงานจากธรรมชาติที่ไม่สร้างผลกระทบต่อการทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำร้ายสุขภาพ สู่แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานไทย ให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด เพื่อความมั่นคงทางพลังงานควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระดับความร่วมมือ มูลนิธิภาคใต้สีเขียว Web link อ้างอิงการดำเนินงาน “พลังงานสีเขียวเพื่อภาคใต้สีเขียว” SDGs Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ SDG7
คณะครุศาสตร์ร่วมปลูกป่าชายเลนสร้างบ้านหลังแรกของสัตว์น้ำ และร่วมสืบสานการทำผ้าบาติกลายโบราณ
วันที่ 11 เมษายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรศักดิ์ แซ่โค้ว คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรคณะครุศาสตร์ ร่วมปลูกป่าชายเลนในกิจกรรมการจัดการความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) คณะครุศาสตร์ ประจำปีประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนจังหวัดกระบี่ เพื่อร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้คณะครุศาสตร์มีเป้าหมายขับเคลื่อนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน สำหรับกิจกรรมการปลูกป่าชายเลนในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างพื้นที่ป่าชายเลนในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์ นอกจากนี้ ในช่วงบ่าย คณะผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำผ้าลายบาติกโบราณ และร่วมกิจกรรม Work Shop ทำลายผ้าบาติกของคณะครุศาสตร์ เพื่อร่วมสืบสานภูมิปัญญาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ณ ดาหลาบาติก จังหวัดกระบี่ ซึ่งก่อตั้งโดยครูช่างศิลปหัตถกรรม ธนินทร์ธร รักษาวงศ์ ผู้ตัดสินใจชุบชีวิตลายบาติกโบราณของคุณยาย ซึ่งเคยทำโรงย้อมโสร่งยาวอที่จังหวัดนราธิวาสและเลิกกิจการไป ครูช่างธนินทร์ธรได้กลับไปเห็นเครื่องไม้เครื่องมือรวมทั้งลายผ้าโบราณที่คุณยายทิ้งไว้จึงตัดสินใจที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าชิ้นสำคัญของครอบครัวด้วยการเปิดกิจการโรงผ้าบาติกขึ้นในพื้นที่จังหวัดกระบี่
English camp for kids. 8-10 May 2023
กิจกรรม English camp สำหรับน้องๆหนูๆ 8-12 ปี ในช่วงปิดเทอม จัดโดยศูนย์ภาษา สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มรส.ร่วมระดมความคิดจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคภาคเอกชน ระยะที่ 2 ระดับจังหวัด
วันนี้ 8 พฤษภาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนยุทธศาสตร์ วิชาการ และทรัพยากรมนุษย์ กล่าวต้อนรับคณะกรรมการดำเนินงานการศึกษาข้อมูลความต้องการของภาคเอกชนในพื้นที่ในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคภาคเอกชน พ.ศ.2566-2570 ระยะที่2 ระดับจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีคณะกรรมการผู้ร่วมภาคเอกชน จาก 3 สถาบันกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยได้แก่ นายกฤษณ์ เชาว์บวร ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย นายกรกฎ เตติรานนท์ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย นายไพจิตร พรมจันทร์ ประธานสมาคมธนาคารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนางสาวดาวริน สุขเกษม สำนักปลัดกระทรวง อว.และคณะทำงาน ณ ห้องประชุมเฟื่องฟ้า ชั้น4 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยวาระการประชุมเป็นการระดมความคิดเห็นในทุกภาคส่วนเพื่อหารือในการจัดทำวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาในอนาคตของกลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และทิศทางในอนาคตที่ ก.น.บ. กำหนด เพื่อนำไปสู่การได้ข้อเสนอโครงการสำคัญ (Flagship Project)ในมิติด้านเศรษฐกิจของการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นใน 5 ปีนับจากนี้:นภัทร […]
คณะพยาบาลศาสตร์ จัดกิจกรรม workshop คุณแม่มือใหม่ ณ โรบินสันสุราษฎร์ธานี
โรบินสันสุราษฎร์ธานี นำโดยคุณนาวิน วงศ์สมบุญ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) สาขาสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ สาขาการพยาบาลมารดาและทารก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรม Workshop คุณแม่มือใหม่โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ฐิตารีย์ พันธุ์วิชาติกุล จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมพูดคุยการดูแลคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ ในวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2566 แผนกเด็ก ชั้น 3 โรบินสันสุราษฎร์ธานี มีคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ให้ความสนใจเข้าร่วมจำนวนมาก
Our Activities
Youth Leaders for Localizing SDGs – การอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้นำนักศึกษาด้านความยั่งยืน . วันนี้ (22 เมษายน 2566) SDG Move จัดค่ายอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผูนำนักศึกษาด้านความยั่งยืน ระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีตัวแทนนักศึกษาจาก 9 มหาวิทยาลัย เข้าร่วมประกอบด้วย (1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (2) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (3) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (4) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (5) มหาวิทยาลัยนเรศวร (6) มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (7) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ( มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (9) มหาวิทยาลัยศิลปากร สำหรับกิจกรรมในวันแรกเริ่มต้นด้วยกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยน “ความสําคัญและบทบาทของเยาวชนต่องการขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ” โดยคณะวิทยากร ได้แก่ 1. น.สพ.ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ eec Thailand […]
“ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต (LLC) SRU จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น ณ บริษัท ทักษิณปาล์ม (2521)”
เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 9.00 – 16.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม เป็นผู้อำนวยการหลักสูตร จัดการบริหารหลักสูตรระยะสั้น โดยมี ผศ.ดร.ธนายุ ภู่วิทยาธร เป็นวิทยากรและผู้บรรยาย หลักสูตร “7 ทักษะ เพื่อการทำงานอย่างมืออาชีพ”รุ่นที่ 1/2566 ร่วมดำเนินงานโครงการในครั้งนี้ สำหรับผู้รับผิดชอบโครงการ และมีคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นผู้ดูแลอำนวยความสะดวกในการจัดอบรม 2 ท่านด้วยกัน คือ นางราตรี รัตนภิรมย์ และนายสานิตย์ ทิพย์อักษร ณ บริษัท ทักษิณปาล์ม (2521) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างทักษะการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น ต่อการปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน….. .การจัดโครงการ หลักสูตร “7 ทักษะ เพื่อการทำงานอย่างมืออาชีพ”รุ่นที่ 1/2566 มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 41คน […]
Amazing Organic เที่ยววิถีออร์แกนิคของดีไม่ต้องพ’ยาม
คุณน้ำฝนบุณยะวัฒน์ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่เกาะสมุย เพื่อร่วมพบปะพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการในการดำเนินงานเรื่อง BCG ร่วมกับ ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว อ.ศันสนีย์ วงศ์สวัสดิ์ และนายนลวัชร์ ขุนลา ตัวแทนมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย เทศบาลนครเกาะสมุย ททท.เกาะสมุย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย Central Tops และวิสาหกิจสมุยยั่งยืน เพื่อสร้างความความภูมิใจในตนเองที่ได้มีส่วนร่วมในการรักษ์โลก และช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยการเคี้ยว ให้การท่องเที่ยวแต่ละครั้งของคุณทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น
สวพ.เข้าร่วมประชุม “คณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด”
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 (13.30-15.30 น.) ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้ ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมการประชุม “คณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด” ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ชั้น 5) อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ มาเป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้รับเกียรติจากทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ทสจ.) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อบก. เพื่อว่าจ้างคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป หัวข้อ รายละเอียด ชื่อโครการ ประชุม “คณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด” ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2566 ผู้รับผิดชอบ/คณะ/สาขาวิชา สถาบันวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้รับเกียรติจากทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ทสจ.) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก […]
มรภ.สุราษฎร์ธานี-เทศบาลตำบลขุนทะเล แถลงข่าวยกผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพสร้างรายได้สู่ท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ณ พื้นที่แหล่งเรียนรู้ประมงพื้นบ้านเพื่อการอนุรักษ์บึงขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มรส. มอบหมายให้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม เป็นผู้ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการจัดการขยะอินทรีย์ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับเทศบาลตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ นายทัพชนะ มะลิเผือก นายกเทศมนตรีตำบลขุนทะเล Mr. Renaud Meyer, Resident Representative, United Nations Development Programme (UNDP) (ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย) และคุณสายใจ มงคลเจริญ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตสุราษฎร์ธานี 1 ในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาผลิตก๊าซชีวภาพและปุ๋ยหมัก ยกผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพ สร้างรายได้สู่ท้องถิ่น.โดยการบริหารจัดการขยะอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ : สถานีที่ตอบสนองต่อ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG Station)” ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) […]