กองพัฒนานักศึกษา ขอแสดงความยินดีกับผู้นำนักศึกษาที่ได้รับตำแหน่งในสมาพันธ์นิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ และมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ประจำปีการศึกษา 2564
นางสาวสุภิญญา สมคิดหมาย ประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 ได้รับตำแหน่งประธานสมาพันธ์นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ และรองประธานสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ นายธีรดนย์ ศรีนิล นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 ได้รับตำแหน่ง กรรมการและเลขานุการ สมาพันธ์นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ นายณรงค์ฤทธิ์ วงศ์จินดา ประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2563 ได้รับตำแหน่งคณะกรรมการที่ปรึกษาสมาพันธ์นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ และที่ปรึกษาสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ นายปิยพงษ์ ดำมุณี นายกองค์การนักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2563 ได้รับดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการที่ปรึกษาสมาพันธ์นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ และที่ปรึกษาสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ LinK : https://stu.sru.ac.th/2021/10/29/student-south-2564/
U2T ต.พระรักษ์ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร จัดโครงการยกระดับสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP
เมื่อวันที่ 22-25 ตุลาคมที่ผ่านมา วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพรในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ดร.ณภัทร นาคสวัสดิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบล จัดกิจกรรมผลิตภัณฑ์ใบจาก ภายใต้ชื่อโครงการ โครงการยกระดับสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร มีการจัดกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม 1. ผลิตภัณฑ์แป้งกล้วยดิบ 2. ผลิตภัณฑ์ไตปลาเเห้ง3. ผลิตภัณฑ์ใบจากโดยมีท่านวิทยากร 2 ท่าน ได้แก่อาจารย์อนุพงษ์ หมื่นชัยยะ บรรยายให้ความรู้เรื่องวัตถุดิบ และ อาจารย์ศันสนีย์ วงศ์สวัสดิ์ บรรยายการสอนทำน้ำพริกแปรรูป และการสอนทำแป้งกล้วยแปรรูป
U2T ต. ไทรขึง จัดกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้า OTOP ต่อยอดการผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการบรรจุอาหาร
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2564 วิศวกรสังคมตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี หนึ่งในตำบลของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้า OTOP ของตำบลไทรขึง ซึ่งมีที่หมด 6 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ปลาส้มสมุนไพร หน่อไม้ดอง ข้าวแต๋น ทองม้วน กล้วยฉาบ และโรตีกรอบ ซึ่งมีอาจารย์สุกัญญา ใหม่เครือแก้ว และอาจารย์สุพรรนิการ์ ศรีบัวทอง เป็นวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มาถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการบรรจุอาหาร โดยมีอาจารยืที่ปรึกษาของตำบลดูแลกิจกรรมนี้อย่างใกล้ชิด ที่มา : ต.ไทรขึง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
U2T ต.ทรายแดง อ.เมืองระนอง จ.ระนอง กิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพการแปรรูปผักเหลียงเพื่อเพิ่มรายได้ในชุมชน : น้ำผักเหรียงและผักเหลียงอบกรอบ
เมื่อวันที่ 24-25 ตุลามคม ที่ผ่านมาทีมวิศวกรสังคม ตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ตำบล๑มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดโครงการกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพการแปรรูปผักเหลียงเพื่อเพิ่มรายได้ในชุมชน : น้ำผักเหรียงและผักเหลียงอบกรอบ ณ ศูนย์การเรียนรู้ช่องเขาเทพประธานพร ม.1 บ้านทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากครัวเรือนยากจนและชาวบ้านในตำบลทรายแดง และได้รับความร่วมมือจาก ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 และทีม อสม ตำบลทรายแดง เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพ การแปรรูปผักเหลียงเพื่อเพิ่มรายได้ในชุมชน : น้ำผักเหรียงและผักเหลียงอบกรอบ ที่มา : ต.ทรายแดง อ.เมืองระนอง จ.ระนอง
โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในเขตชนบท พื้นที่ตำบลเกาะพะลวย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เพื่อศึกษาอัตราการเกิดก๊าซชีวภาพจากเศษปลาพัฒนากระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษปลาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพสู่ชุมชน
U2T ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง จ.ระนอง อบรมการพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ในพื้นที่เขานิเวศน์
วิศวกรสังคมตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง จัดกิจกรรมอบรม การพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ในพื้นที่เขานิเวศน์ นำโดยอาจารย์อังคณาภรณ์ จันทร์แก้ว อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลเขานิเวศน์ เพื่อส่งเสริมการทำการตลาดเพื่อขายสินค้าออนไลน์ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล สื่อออนไลน์ การออกแบบตราสินค้า/บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สินค้า และ การสร้างช่องทางการขายออนไลน์ โดยมีการแบ่งการจัดกิจกรรมอบรม การพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ในพื้นที่ตำบลเขานิเวศน์ อ.เมือง จ.ระนอง ออกเป็นรอบ ดังนี้ ในระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม 2564 น. ณ ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยจัดกิจกรรมอบรม ศาลาอเนกประสงค์ชุมชนท่าด่าน ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ห้องประชุม สำนักงานป่าชายแลน ชุมชนด่าน ในวันที่ 23 ตุลาคม 2564 และบ้านป้าพะนอในการจัดกิจกรรม วันที่ 24 ตุลาคม 2564 โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ภูเด่น แก้วภิบาล และ อาจารย์ธีราวรรณ จันทร์แสง […]
อนุโมทนาบุญกฐิน วัดสว่างอารมณ์ ประจำปี 2564
24 ตุลาคม 2564ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำพุ่มกฐิน ร่วมอนุโมทนาบุญกฐิน วัดสว่างอารมณ์ ประจำปี 2564 ณ วัดสว่างอารมณ์ อ.เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี.อนุโมทนาบุญกฐิน โดย..ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่มา Website : inter.sru.ac.th
U2T ต.เกาะพะงัน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเลตากแห้ง และการตลาดผ่านสื่อโซเชียล ที่สามารถใช้ในการค้าขายออนไลน์
เมื่อวันที่ 18-20 ตุลาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงันลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการตลาดของสินค้า OTOP ในชุมชนตําบลเกาะพะงัน เพื่อยกระดับสินค้าเพิ่มมูลค่าในการขาย และสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นอาหารทะเลตากแห้ง ได้มีการอบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยี และการตลาดทางสื่อโซเชียล ที่สามารถใช้ในการค้าขายออนไลน์ ภายใต้โครงการการพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพใหม่ การยกระดับสินค้า OTOP โดยมีผู้เข้าร่วมที่รับความร่วมมือจากปราชญ์ชาวบ้านและชาวบ้านหมู่ที่ 7 ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน นายกเทศมนตรีตำบลเพชรพะงัน และผู้ใหญ่บ้าน 7 สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและทีมวิศวกรทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการการควบคุมโรคระบาด Covid -19 ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด ที่มา:U2T ต.เกาะพะงัน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี
มาตรการและแนวทางในการปฏิบัติงานช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2564
มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการส่งเสริมการปฏิบัติงานนอกสถานที่สำหรับบุคลากร (Work From Home) เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยมอบหมายให้กองการเจ้าหน้าที่จัดทำมาตรการและแนวทางในการปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำเดือน และเผยแพร่คู่มือการใช้งานระบบ SRU WFH เพื่อให้บุคลากรรับทราบและถือปฏิบัติ หัวข้อ รายละเอียด นโยบายส่งเสริมการทำงานจากนอกสถานที่สำหรับพนักงาน มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการส่งเสริมการปฏิบัติงานนอกสถานที่สำหรับบุคลากร (Work From Home) เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผู้รับผิดชอบ กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี Web link อ้างอิงการดำเนินงาน 1. https://personal.sru.ac.th/2021/10/21/sru-hr-measure-and-guideline-for-work-operation-oct-nov-2021/2. https://personal.sru.ac.th/2021/05/31/sru-work-from-home-manual-25640531/ SDGs Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ SDG 11
รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ร่วมกับสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ โดยกลุ่ม “แซมช่วยสมุย” ขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานศิษย์เก่าอำเภอบ้านนาเดิม มอบถุงยังชีพและไม้เท้าให้แก่ผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุอำเภอบ้านนาเดิม
วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ร่วมกับสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ โดยกลุ่ม “แซมช่วยสมุย” ขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานศิษย์เก่าอำเภอบ้านนาเดิม มอบถุงยังชีพและไม้เท้าให้แก่ผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุอำเภอบ้านนาเดิม โดยกิจกรรมในวันนี้ นางกอบกุล ชุติมันต์ รองประธานศูนย์ศิษย์เก่าฯ อำเภอบ้านนาเดิม และรองนายกเทศมนตรีเทศบาลบ้านนา พร้อมด้วยนายพลาพร ขุนทอง ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานศิษย์เก่าอำเภอบ้านนาเดิม ประสานงานพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรม
U2T ต.ลำพูน จัดกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ไตปลาแห้งบรรจุขวด”
วันที่ 15 ตุลาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลลำพูนลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ”ไตปลาแห้งบรรจุขวด”โดยใช้นวัตกรรมตามอัตลักษณ์ของชุมชนให้กับสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาด ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเสริมสร้างรายได้และยกระดับการท่องเที่ยวตำบลลำพูน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ศาลาอเนกประสงค์หมู่ที่ 5 บ้านปลายธาราชรักษา ตำบลลำพูน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากครัวเรือนยากจนและชาวบ้านหมู่ที่ 5 และได้รับความร่วมมือจากปลัดตำบลลำพูน, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพูน,ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและทีมวิศวกรทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการควบคุมโรคระบาด Covid 19 ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด ที่มา : ต.ลำพูน อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี
รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาร่วมกับตัวแทนสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานศิษย์เก่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันที่ 12 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มอบเสื้อเป็นที่ระลึกให้กับคุณทามาสโรแบร์ด อาร์พัด ตัวแทนสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ ผู้นำกลุ่มแซมช่วยสมุย และคุณเจนณรงค์ พูลสวัสดิ์ เลขานุการศูนย์ประสานงานศิษย์เก่าอำเภอเกาะสมุย เพื่อเป็นการขอบคุณที่ได้ร่วมกับศูนย์ประสานงานศิษย์เก่าประจำอำเภอของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในอำเภอเกาะสมุย อำเภอเคียนซา และอำเภอเวียงสระ ที่ผ่านมา โดยกิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมร่วมกับศูนย์ประสานงานศิษย์เก่าอำเภอท่าฉาง โดย นายจตุรนต์ จิยาเพชร ประธานศูนย์ศิษย์เก่าอำเภอท่าฉาง มอบถุงยังชีพแก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ ในตำบลปากฉลุย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี\ Link : https://stu.sru.ac.th/2021/10/14/tha-chang-district-alumni-center-64/
วนช.ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
14 ตุลาคม 2564ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ ร่วมเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ให้บริการพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ให้บริการภายใต้ระบบ “SAMUI PLUS MODEL” โดยมีกิจกรรมเสริมศักยภาพในการปฏิบัติงานและเตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ New Normal ให้เเก่บุคลากรด้านการท่องเที่ยว.พร้อมด้วย ดร.ณภัทร นาคสวัสดิ์ รองคณบดี และ อาจารย์อนุพงษ์ หมื่นชัยยะ ผู้ช่วยคณบดี.โครงการดังกล่าว มี คุณตรีกนก มีเดช และคุณธัญญารัตน์ พุทธพิทักษ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในด้านความปลอดภัยทางสาธารณสุขกับการท่องเที่ยว “การตรวจหาเชื้อ COVID – 19 ด้วยวิธี ATK “.ณ โรงแรม W KOH SAMUI ที่มา Website : inter.sru.ac.th
U2T ต.พ่วงพรมคร อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรมกิจกรรมโครงการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวบ่อถ่านศิลาสยามออนไลน์
วันที่ 11 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา วิศวกรสังคม ตำบลพ่วงพรมคร อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี ได้จัดกิจกรรมโครงการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวบ่อถ่านศิลาสยามออนไลน์ ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ 6 บ้านพรหมรังสิต ตำบลพ่วงพรมคร อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร นายสมบูรณ์ ด้วงเรือง มาให้ความรู้และถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับบ่อถ่านศิลาสยามให้แก่พวกเราทีมวิศวกรสังคม ตำบลพ่วงพรมคร และได้มีการถ่ายภาพบริเวณบ่อถ่านศิลาสยามไว้ ซึ่งได้จัดสัมภาษณ์ณ ณ บ่อถ่านศิลาสยาม เพื่อนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดลงในเว็บไซต์ https://puangpromkon.com/silasiam/ สำหรับการจัดกิจกรรมโครงการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวบ่อถ่านศิลาสยามออนไลน์ในครั้งนี้ มีนายพงษ์ธิศักดิ์ ชอบทำกิจ ที่ปรึกษาโครงการค่อยกำกับและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอย่างใกล้ชิด โดยผู้เข้าร่วมทุกคนต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุขตำบลพ่วงพรมครอย่างเคร่งครัดอีกด้วย ที่มา :U2T ต.พ่วงพรมคร อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี
U2T ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร จัดกิจกรรม ส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน
วิศวกรสังคมตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร หนึ่งตำบลในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรม ส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อลดปัญหาขยะในชุมชน เพิ่มปริมาณต้นไม้ในชุมชนและเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน ณ ศาลาหมู่บ้านปะติมะ หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 10 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยช่วงเช้าจะร่วมกันเก็บขยะภายในชุมชน และช่วงบ่ายร่วมกันปลูกพันธุ์ไม้ ได้แก่ ต้นยางนา ต้นพะยอม ต้นตะเคียน ต้นหวาย ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองหรั่ง หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร โดยได้รับเกียรติจากนายสุรัตน์ ลิมป์รัชดาวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่14 ประธานเปิดกิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้รับความสนับสนุนพันธุ์ไม้จากหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และความสนับสนุนจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่นง.2 (คลองแย) ในการจัดพื้นที่ปลูกป่าในครั้งนี้อีกด้วย โดยผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.ชุมพรอย่างเคร่งครัดอีกด้วย ที่มา:U2T ต.พะโต๊ะ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร
ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง วิธีการรับนักศึกษาพิการเข้าศึกษา พ.ศ.2564
Link : https://stu.sru.ac.th/2021/10/10/students-with-disabilities-64/
วนช.ร่วมต้อนรับ “น้องแต้ว” (สุดาพร สีสอนดี)
9 สิงหาคม 2564 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดี #วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ร่วมต้อนรับ “น้องแต้ว” (สุดาพร สีสอนดี) ฮีโร่สาวที่สร้างประวัติศาสตร์ ให้กับสมาคมมวยสากลของไทย ด้วยการ..คว้าเหรียญทองแดงแรก ในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2020 และคณะ เดินทางเพื่อมากักตัวพร้อมพักผ่อนที่ #เกาะสมุย ในโครงการ ” Samui+ Model” จำนวน 14 คืน . มีพิธีต้อนรับโดย.. นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พลเรือโทสำเริง จันทร์โส ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีนายพงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีนายธีระพงศ์ ช่วยชู นายอำเภอเกาะสมุยนางสาวสุภิญญา ศรีทองกุล รองนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุยนางรุ้งเพชร รอดแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดสุราษฎร์ธานี แทนผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยนางศุภากาญจน์ ยอดฉุน ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเกาะสมุย นายรัชชพร พูลสวัสดิ์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุยนางสาวณัฏฐ์ชยธร ณัฐสุดานิจวิภา ผู้อำนวยการสนามบินสมุยและหน่วยงานในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย […]
U2T ต.บ้านส้อง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรม โครงการเพาะเห็ด เพื่อยกระดับสัมมาชีพครัวเรือนยากจน
วันที่ 5-6 ตุลาคม 2564 ทางวิศวกรสังคมตำบลบ้านส้อง ได้จัดโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ เพื่อยกระดับสัมมาชีพครัวเรือนยากจน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 กับโครงการเพาะเห็ด ขอขอบคุณ นายคนองศิลป์ ชิตรกุล นายกเทศบาลตำบลบ้านส้องที่อำนวยสถานที่ ณ เทศบาลตำบลบ้านส้องในการจัดอบรม และขอขอบคุณ คุณบุญเลิศ ไชยคง ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในการอบรมการเพาะเห็ดในครั้งนี้ การจัดอบรมเพาะเห็ดในครั้งนี้จะมีเห็ด 2 ชนิด ได้แก่ เห็ดนางฟ้าและเห็ดหูหนู เพื่อยกระดับรายได้ให้แก่ครัวเรือนยากจนเป็นหลัก ให้ เกิดการสร้างรายได้ต่อการเลี้ยงชีพและมีวิทยากรมาอธิบายการเพาะเลี้ยงเห็ดพร้อมสาธิตวิธีการดูแลและขั้นตอนในการเพาะต่างๆ ซึ่งทำให้ประชาชนที่เข้าอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจและนำเห็ดไปใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งมีคู่มือการเพาะเห็ดเพื่อเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจบโครงการนี้ไปจะทำให้ครัวเรือนยากจนได้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้ทางวิศวกรสังคมได้จัดสถานที่ตามมาตรการป้องกัน Covid-19 เว้นระยะห่างอย่างเคร่งครัดและสวมหน้ากากอนามัยทุกคน ที่สำคัญต้องขอขอบคุณประชาชนทุกท่านที่สละเวลาเพื่อเข้ารับการอบรม ทำให้โครงการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และขอขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจกับพวกเรา U2T ตำบลบ้านส้องได้ส่งเสริมและยกระดับครัวเรือนของทุกท่าน ที่มา : U2T ต.บ้านส้อง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
U2T ต.พังกาญจน์ จัดกิจกรรมพัฒนาการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เครื่องแกงกะทิ เครื่องแกงพริก และเครื่องแกงส้มหรือเครื่องแกงเหลือง
วันที่ 8 ตุลาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลพังกาญจน์ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรม พัฒนาการของกลุ่มเครื่องแกงบ้านพังกาญจน์ล่างและลงพื้นที่เพื่อพูดคุยและสอบถามกับสมาชิกกลุ่มเครื่องแกงดังกล่าว ทำให้มีความเห็นตรงกันว่า เห็นควรให้มีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเดิมทีชาวบ้านจะนำเครื่องแกง จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ เครื่องแกงกะทิ เครื่องแกงพริก และเครื่องแกงส้มหรือเครื่องแกงเหลือง ที่บดแล้วใส่ถุงพลาสติกใส มัดด้วยยางวง และเขียนระบุประเภทเครื่องแกงแต่ละชนิดด้วยปากกาเคมี มาพัฒนาเป็นการนำเครื่องแกงจำนวน 3 ชนิดข้างต้นใส่กระปุกขนาดแตกต่างกัน จำนวน 3 ขนาด แล้วนำสติกเกอร์ที่ออกแบบขึ้น จำนวน 3 ขนาด ปิดทับบริเวณข้างหรือบนกระปุก เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และจดจำในส่วนที่มา ผู้ผลิต ปริมาณ การติดต่อ ประเภทเครื่องแกงและผู้ให้การสนับสนุน นอกจากนี้ ทางทีมวิศวกรสังคมตำบลพังกาญจน์ได้ช่วยประชาสัมพันธ์เครื่องแกงดังกล่าวเพื่อสร้างการรับรู้ถึงบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่น่าสนใจมากขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายเครื่องแกงให้มากขึ้น สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุบโรคระบาดโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุขจ.สุราษฎร์ธานี ที่มา : ต.พังกาญจน์ อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกใน THE (Times Higher Education) Impact Rankings 2021
มรภ.สุราษฎร์ธานี” … มหาวิทยาลัยราชภัฏอันดับ 1 ของภาคใต้ … จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกใน THE Impact Rankings 2021 วัดความสำเร็จเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนเป็นดัชนีชี้วัดประเทศที่ช่วยให้เกิดการตัดสินใจลงทุนจากต่างประเทศ