คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่นักศึกษา กศน. และประชาชน เรื่อง กฎหมายกับธรรมมะ โดย พระครูสมุห์ดิษฐภูมิ จิรธมฺโม เจ้าอาวาสวัดประชาวงศาราม
หัวข้อ รายละเอียด ชื่อโครงการ โครงการ ให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ชุมชนท้องถิ่น กิจกรรม ให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ชุมชนท้องถิ่น ผู้รับผิดชอบ/คณะ/สาขาวิชา ศูนย์ฝึกอบรมและช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย1. ผศ.สมชาย บุญคงมาก2. ผศ.ดร.ภูภณัช รัตนชัย3. ผศ.สุชาดา ศรีใหม่4. อ.ทศพร จินดาวรรณ5. อ.พรอุมา วงศ์เจริญ ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา นักศึกษา กศน.ในพื้นที่ ต.กรูด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี และประชาชน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อจัดทำโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยโดยเชิญวิทยากรบรรยายให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชน2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน3. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและประชาชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างฐานข้อมูลทางด้านกฎหมายให้กับชุมชน4. เพื่อให้นักศึกษาอาจารย์ได้ร่วมบริการวิชาการและมีข้อมูลผลิตผลงานวิจัยและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน แหล่งทุนสนับสนุน งบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย (นโยบายต่อเนื่อง) โครงการ ให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ชุมชนท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน่วยงานที่ร่วมมือ บุคลากรคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และชุมชนท้องถิ่น ผู้มีส่วนได้เสีย ระดับความร่วมมือ ร่วมมือในการประสานกลุ่มเป้าหมาย ร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินงานและร่วมรับประโยชน์ ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ 1. คณะมีโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย 2. ทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน […]
ธุรกิจอาหาร ช่วยชุมชนพัฒนาฉลากสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ยกระดับการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรและประมงในท้องถิ่นสุราษฎร์ธานี
อาจารย์ และนักศึกษา สาขาวิชาธุรกิจอาหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การออกแบบฉลาก โลโก้ และบรรจุภัณฑ์ ให้แก่ชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการการส่งเสริมและยกระดับการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรและประมงในท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีสู่การสร้างอาชีพ ข้อมูลจาก : Food Business : สาขาวิชาธุรกิจอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
วันที่ 17-18 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ดร.ชุติมา เสพย์ธรรม หัวหน้าโครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร พร้อมทีมวิทยากรจากสาขาวิชาเคมี จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ดร.นิภาภรณ์ มีพันธุ์ ผศ.ดร.อรภรณ์ บัวหลวง และ ดร.อานนท์ ชูแก้ว ได้ร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้การแยกเนยโกโก้และการทำผลิตภัณฑ์จากเนยโกโก้ ได้แก่ สบู่น้ำมันธรรมชาติ ลิปปาล์ม และโลชันบำรุงผิว และวิทยากรจากคณะวิทยาการจัดการ ดร.อนุรักษ์ บิลนุ้ย ให้ควมรู้ในหัวข้อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบตราสินค้าและช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และณ วิสาหกิจตลาดชุมชนหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ผู้รับผิดชอบ : ดร.ชุติมา เสพย์ธรรม กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรจากกลุ่มวิสาหกิจตลาดหลังสวน อ.หลังสวน จ.ชุมพร จำนวน 20 คน วัตถุประสงค์ : เพื่อแยกเนยโกโก้จากเนื้อโกโก้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่น้ำมันธรรมชาติ โลชั่นบำรุงผิว และลิบปาล์ม จากเนยโกโก้ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การแยกเนยโกโก้และการทำผลิตภัณฑ์จากเนยโกโก้ […]
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพอาหารแปรรูปเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตรและอาหารทะเลพร้อมบรรจุภัณฑ์
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงสู่นวัตกรรมและเทคโนโลยีแปรรูปอาหารปลอดภัย
เพื่อพัฒนาสูตรและและวิธีการแปรรูปของเครื่องแกงในรูปแบบต่างๆ/เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเครื่องแกงในบรรจุภัณฑ์ และเพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์เครื่องแกง
ม.ราชภัฏสุราษฎร์ เดินหน้าส่งต่อองค์ความรู้สู่ชุมชนบ้านห้วยทรายขานรับ … ต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์ยกระดับต้มโคล้งปลาเม็ง-แกงส้มกบพร้อมรับประทาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เดินหน้าส่งต่อองค์ความรู้สู่ชุมชนบ้านห้วยทราย ตำบลทรัพย์ทวี อำเภอบ้านนาเดิม ร่วมต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์พร้อมยกระดับต้มโคล้งปลาเม็งสำเร็จรูป-แกงส้มกบบรรจุกระป๋อง พร้อมรับประทานและพกพา หวังชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน.ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มรส. เปิดเผยว่า บ้านห้วยทราย ตำบลทรัพย์ทวี อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินงานโครงการตามพระราโชบาย ด้านการพัฒนาท้องถิ่น แผนงานแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในเขตชนบท ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ โดยโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ดำเนินงานในพื้นที่เป็นปีที่ 2 ในปีแรกได้ดำเนินการศึกษาทุนและศักยภาพของพื้นที่และวางแผนการดำเนินงานร่วมกับประชาชนในพื้นที่ พบว่า พื้นที่บ้านห้วยทรายมีจุดเด่น เกี่ยวกับความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน และการรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่หลากหลาย รวมทั้งมีความต้องการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้จากอาชีพการทำสวนยางและสวนปาล์มซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบว่า ในพื้นที่มีศักยภาพในการผลิตปลาเม็ง ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดตามลำน้ำตาปีที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และการเลี้ยงกบโดยการรวมกลุ่มของเกษตรกร โดยประชาชนในพื้นที่มีความต้องการยกระดับให้เป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายนอกพื้นที่แต่ขาดองค์ความรู้ในการดำเนินการพัฒนาและยกระดับ ปลาเม็ง เป็นต้มโคล้งปลาเม็งแบบสำเร็จรูปพร้อมปรุงและรับประทาน ส่วนกบยกระดับเป็นแกงส้มกบแบบกระป๋องพร้อมรับประทาน โดยนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยถ่ายทอดสู่ชุมชน ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และให้ประชาชนนำไปต่อยอดในภาคการผลิตเพื่อการจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับชุมชน.ด้านนายกิตติศักดิ์ นาคกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านห้วยทราย ตำบลทรัพย์ทวี อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ประชาชนในชุมชนต้องการจัดตั้งกลุ่มเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น […]
ครงการเสริมสร้างความยั่งยืนชุมชมท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี : การพัฒนาศักยภาพนักการสื่อสารชุมชนเป็นมัคคุเทศก์
9 กรกฎาคม 2564 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว เป็นประธาน เปิดอบรม “โครงการเสริมสร้างความยั่งยืนชุมชมท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี : การพัฒนาศักยภาพนักการสื่อสารชุมชนเป็นมัคคุเทศก์” ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจัดอบรมในระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2564 ณ วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเกาะสมุย #IST#SRU ที่มาFacebook : International School of Tourism
สำนักศิลปะฯ มรส. ชูประวัติศาสตร์-วัฒนธรรมวิธีการย้อมไหมโบราณ ยืน 1 ไม่เป็นรองใคร
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มรดกสิ่งทอสุราษฎร์ธานี” ย้อมไหมด้วย “แกแล” และ “ครั่ง” ดันชุมชนอนุรักษ์มรดกสิ่งทอ พร้อมหยิบวัตถุดิบธรรมชาติประยุกต์ร่วมสมัย โดยมีกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านท่ากระจาย ศูนย์ศิลปาชีพบ้านท่านหญิง เป็นวิทยากร หวังเยาวชนสืบสานวัฒนธรรมการย้อมไหม.อาจารย์ธีรพันธุ์ จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวว่า มรดกสิ่งทอที่มีลายแตกต่างกันหลายชนิดรวมไปถึงการย้อมสีจากธรรมชาติ เช่น จากต้นแกแลและครั่ง เป็นวิธีการย้อมไหมของคนในชุมชนสมัยโบราณ มีการใช้สีจากพืชพันธุ์ธรรมชาติทำให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอมีคุณค่ามากกว่าการใช้สีจากสารเคมี จนสามารถนำไปต่อยอดประดิษฐ์คิดค้นลายทอผ้าใหม่ๆ อีกทั้ง มีการถอดลายผ้าโบราณลงกราฟส่งมอบให้ชุมชนได้นำไปทดลองใช้ในการประกอบอาชีพ.ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวต่อไปอีกว่า การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มรดกสิ่งทอ สุราษฎร์ธานี” เป็นการร่วมระดมความคิดกับผู้นำชุมชน ประชาชนในท้องถิ่น และเครือข่ายสถานศึกษา เพื่อนำแนวคิดด้านกระบวนการทางวัฒนธรรมมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความรักความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย เข้าใจสิทธิของผู้อื่น โดยมุ่งเน้นกระบวนการทำงานให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน จนนำมาสู่มรดกสิ่งทอจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เป็นสื่อกลางในการดำเนินงานดังกล่าว.สำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มรดกสิ่งทอสุราษฎร์ธานี” จัดขึ้นเมื่อระหว่างวันที่ 4-7 กรกฎาคม 2564 ณ เรือนไทย 4 ภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งภายใต้โครงการส่งเสริมความรักความสามัคคี มีระเบียบวินัยเข้าใจสิทธิของผู้อื่น กิจกรรม ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนเพื่อเสริมสร้างความสามัคคี […]
สำนักศิลปะฯ มรส. ชูประวัติศาสตร์-วัฒนธรรมวิธีการย้อมไหมโบราณ ยืน 1 ไม่เป็นรองใคร
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มรดกสิ่งทอสุราษฎร์ธานี” ย้อมไหมด้วย “แกแล” และ “ครั่ง” ดันชุมชนอนุรักษ์มรดกสิ่งทอ พร้อมหยิบวัตถุดิบธรรมชาติประยุกต์ร่วมสมัย โดยมีกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านท่ากระจาย ศูนย์ศิลปาชีพบ้านท่านหญิง เป็นวิทยากร หวังเยาวชนสืบสานวัฒนธรรมการย้อมไหม จัดขึ้นเมื่อระหว่างวันที่ 4-7 กรกฎาคม 2564 ณ เรือนไทย 4 ภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หัวข้อ รายละเอียด ชื่อโครการ/กิจกรรม ่โครงการ พัฒนามรดกสิ่งทอสุราษฎร์ธานี กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการมรดกสิ่งทอสุราษฎร์ธานี ผู้รับผิดชอบ/คณะ/สาขาวิชา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา/สถานที่จัดกิจกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี วัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้มรดกสิ่งทอสุราษฎร์ธานี 2. เพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดผลเชิงบวกทั้งต่อเศรษฐกิจ และสังคมและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยใช้วัฒนธรรมเป็นฐานทุนในการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม แหล่งทุนสนับสนุน งบประมาณแผ่นดิน หน่วยงานที่ร่วมมือ – ะดับความร่วมมือ – ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อระบุวันที่ การนำไปใช้ – Web link อ้างอิงการดำเนินงาน สำนักศิลปะฯ มรส. […]
การจัดการทางวัฒนธรรม ม.ราชภัฏสุราษฎร์ฯ ลงพื้นที่เกาะพะงัน…นำแนวคิด “Back to the basic” ดึงวิถีการย่างมะพร้าวสู่การท่องเที่ยวพึ่งรายได้ด้วยตนเอง
สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ลงพื้นที่ อำเภอเกาะพะงัน ภายใต้การดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากมะพร้าวตามโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) นำแนวคิดการกลับสู่ความดั้งเดิม (Back to the basic) ของภูมิปัญญาบรรพบุรุษ หวังดึงเป็นจุดขายนักท่องเที่ยวดันการย่างมะพร้าวในอดีตสู่การสานต่อสร้างรายได้พร้อมพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแก่ชุมชน . ดร.ศิริอร เพชรภิรมย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรส. เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (Covid-19) จึงทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะการกระทบกับเศรษฐกิจและรายได้หลักของประชาชน เช่นเดียวกับประชาชนในพื้นที่อำเภอเกาะพะงัน ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของประเทศ รายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวเพื่อดื่มด่ำและศึกษาธรรมชาติบนเกาะ และเมื่อเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวนี้ จึงเป็นเหตุให้นักท่องเที่ยวมีจำนวนน้อยลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของประชาชนในท้องถิ่น . ดร.ศิริอร เปิดเผยต่อไปว่า เกาะพะงันมีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นเกี่ยวกับมะพร้าวที่ควรค่าแก่การศึกษา ค้นคว้า เก็บข้อมูล และอนุรักษ์ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีกลับมาสู่วิถีดั้งเดิม (Back to the basic) ตามภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษแนะนำ สั่งสอน เช่น การย่างมะพร้าวแบบโบราณ การผลิต สิ่งของอุปโภคบริโภคจากทุกส่วนของต้นมะพร้าว ที่แฝงไปด้วยภูมิปัญญาและสามารถช่วยสร้างรายได้แก่ครอบครัวอย่างยั่งยืน จึงควรมีการส่งเสริม พัฒนาอนุรักษ์ ต้นมะพร้าวให้คงอยู่ในพื้นที่ให้มากที่สุดเพราะมากกว่ารายได้ คือ จิตวิญญาณของบรรพบุรุษที่แฝงอยู่ในวัฒนธรรมและภูมิปัญญา . สำหรับการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากมะพร้าวตามโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ภายใต้การบริหารจัดการงานโดยโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการและทักษะวิชาชีพแก่ชุมชนท้องถิ่นให้สามารถเรียนรู้และพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน ได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างเพจขายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวแบบ online” โดย อาจารย์พงศ์พิพัฒน์ มากช่วย อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ การสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญามะพร้าว โดย อาจารย์เกสสินี ตรีพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และการสร้างเนื้อหา (Content) การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเพื่อการท่องเที่ยว โดย คุณกนกรัตน์ ศรียาภัย นักประชาสัมพันธ์ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2564 ณ ตำบลบ้านใต้ อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี . อดิสรณ์ เนาวโคอักษร รายงาน กนกรัตน์ ศรียาภัย /ภาพ-ข่าว #สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีhttps://sru.ac.th/2021/07/06/back-to-the-basic-bringing-the-coconut-grilling-way-to-self-reliant-tourism/
หอสมุดกลาง จัดอบรมให้แก่ครูห้องสมุดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 หอสมุดกลางจัดอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบออนไลน์ (Google Meet) เรื่อง “การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์แบบ infographic” มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมสนองงานในโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาร่วมกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดชุมพรจำนวน 11 โรงเรียน โดยมอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ รับผิดชอบงานการส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน งานข้อมูลสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อการบริการ การจัดอบรมในครั้งนี้เพื่อให้ครูบรรณารักษ์หรือครูผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มีความรู้และฝึกปฏิบัติในการสร้างสื่อในรูปแบบ infographic ซึ่งเป็นการสื่อสารด้วยภาพที่มีบทบาทอย่างมากต่อการรับรู้และเข้าใจด้วยเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งครูสามารถนำไปปรับใช้งานได้หลากหลายและทำให้งานมีประสิทธิภาพ โดยในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณธีระวัฒน์ กิจงาม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ฝ่ายพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีบรรยายให้ความรู้ และครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเข้าร่วมกว่า 30 คน web link http://library.sru.ac.th/2021/07/01/infographic-for-school-of-border/ ข่าว : เบญจมาศ เทอดวีระพงศ์