นิติศาสตร์ มรส.จัดสอนเทคนิคการสกรีนเสื้อกากเพชรเพิ่มรายได้ชุมชน
“มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเดินหน้าโครงการวิศวกรสังคม มรส. อาสายกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สู่การสร้างวิศวกรสังคม”
วันที่ 26 มีนาคม 2564 ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการวิศวกรสังคม มรส. อาสายกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลเคียนซา อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (SRU Social Engineer Project: volunteer to improve the quality of elder life in Khiansa Sub-district, Khiansa District, Surat Thani Province) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเคียนซา ตำบลเคียนซา อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และศูนย์ศิษย์เก่าอำเภอเคียนซา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการเป็นวิศวกรสังคม ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ เชิงเหตุ – ผล ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง และทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อจัดกิจกรรมยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ โดยมีนักศึกษาจากหลากหลายสาขาวิชา จำนวน 10 คน เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการ บูรณาการองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยมาใช้ในมิติการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ […]
สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญพิเศษและเชี่ยวชาญ
สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญพิเศษและเชี่ยวชาญ รอบการพัฒนาที่ 108/1 ….. โดยมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจากโรงเรียน ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1-3 ชุมพร เขต 1 พัทลุง เขต 1 และสตูล เข้ารับการพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ รุ่นที่ 28 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม – 2 เมษยน 2564 ที่ผ่านมา ณ ห้องอบรม สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ชั้น 4 อาคารคณะครุศาสตร์ ….. ทั้งนี้ สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ฯลฯ ซึ่งเป็นพันธกิจหลักของสถาบันฯ
มูลนิธิ ณ ภาฯ ร่วม มรส. ลงพื้นที่หวังชูสมุนไพรขมิ้นชัน-จันทน์กะพ้อ ส่งเสริมการปลูกพร้อมดันมาตรฐาน อย. ขอ GI วิเคราะห์ทางเคมีให้เป็นที่ยอมรับระดับสากลต่อยอดประโยชน์เชิงพาณิชย์
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 มูลนิธิ ณ ภาฯ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ลงนามความร่วมมือการสนับสนุนการศึกษาวิจัย พัฒนาวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม หวังผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับสากล ต่อยอดประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยผู้แทน นายเอกภพ เดชเกรียงไกรสร รองประธานมูลนิธิ ณ ภาฯ ลงพื้นที่จริงดันขมิ้นชันและจันทน์กะพ้อ พร้อมลงนามความร่วมมือกับ มรส. โดย ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี ที่ได้ให้การต้อนรับและนำสู่พื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขมิ้นชันปลอดสารพิษ บ้านเขาวง ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน และสวนน้ำจันทน์กะพ้อ ตำบลเคียนซา อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี . ผศ.ดร. วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มรส. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ตามข้อตกลงร่วมกับ มูลนิธิ ณ ภาฯ ในพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี […]
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรส.ร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๖๔ เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑๑
วันที่ ๒๒-๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๖๔ เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑๑ “วิถีศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย” (the ๑st National and the ๑๑th International Conference on Arts and Culture: Contemporary Arts and Cultural Practices) ณ อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม (พุทธวิชาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร หัวข้อ รายละเอียด ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการ โครงการประเมินผลการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ต่อการอนุรักษ์ และหรือฟื้นฟู และหรือส่งเสริม และหรือพัฒนาศิลปวัฒนธรรมกิจกรรม เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ผู้รับผิดชอบ/คณะ/สาขาวิชา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา/สถานที่จัดกิจกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร วัตถุประสงค์ 1) เพื่อเป็นเวทีในการเสนอผลงานวิชาการและผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมในระดับนานาชาติของนักวิชาการนักวิจัย คณาจารย์นิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนหลักสูตรที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มการวิจัยการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม3) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและผลงานวิจัยร่วมกันในระดับประเทศและระดับนานาชาติ แหล่งทุนสนับสนุน เงินรายได้มหาวิทยาลัย […]
อบรมการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับโรงเรียนผู้สูงอายุ
การอบรมการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับโรงเรียนผู้สูงอายุ ในโครงการนักจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุระยะที่ 2 วันที่ 18 มีนาคม 2564 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี วิทยากร นายเชาวลิต ลิบน้อยโดยมี ดร.ฐิตารีย์ พันธุ์วิชาติกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ มรส. เป็นผู้กล่าวเปิดพิธี
พยาบาลศาสตร์ มรส. ดันนักจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ …. หวังสร้างความสุข สร้างคุณค่า สร้างศักดิ์ศรี ให้ตนเอง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) จัดโครงการนักจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ หวังผู้สูงอายุในชุมชนสามารถดำเนินการจัดการก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชนได้ พร้อมขับเคลื่อนความสุข คนวัยเดียวกันอย่างมีคุณค่าพึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็ง โดยได้รับเกียรติวิทยากรจากศูนย์สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี มรส.•ผศ.วีณา ลิ้มสกุล ผู้ช่วยคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มรส. ฝ่ายสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เปิดเผยว่า เพราะประชากรสูงอายุของประเทศไทยมีเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น ประชากรวัยสูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลต่อรายจ่ายของประเทศด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ด้านครอบครัวก็ต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นก็ยิ่งต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ อย่างน้อย 1 โรค และอาจจะมีความพิการหรือทุพพลภาพร่วมด้วย ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีหรือคุณภาพชีวิตในระดับต่ำได้โดยมีครอบครัวเป็นกลไกสำคัญในการดูแล•นอกจากนี้สภาพครอบครัวไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จากครอบครัวขยาย คือ มีคนหลายรุ่น อยู่ในครัวเรือนเดียวกัน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่กันตามลำพัง ขาดผู้ดูแล และอาจเกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่า ไม่มีความหมาย ยิ่งทำให้สถานการณ์ของผู้สูงอายุไทยน่าวิตก การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงเป็นแนวทางที่สำคัญ ที่ควรดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่นๆ ของรัฐเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ สมาชิกในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีภารกิจโดยตรงในการดูแลผู้สูงอายุรวมทั้งส่งเสริม […]
หลักสูตรฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ เฉพาะภูมิภาค ภาคใต้ รุ่น 2
วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเกาะสมุย ได้รับการอนุมัติให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ ศูนย์สุราษร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็น ศูนย์ฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ ที่เเรกและที่เดียว ของจังหวัด สุราษฎร์ธานี 17 มีนาคม 2564 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ให้การต้อนรับผู้เข้าอบรม และสร้างกำลังใจสำหรับบุคลากรสายการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ผ่านระบบ Zoom ดร.ณภัทร นาคสวัสดิ์ รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ให้คำแนะนำและชี้เเจงรายละเอียดในการฝึกอบรม ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ เป็นการจัดหลักสูตรฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ เฉพาะภูมิภาค ภาคใต้ รุ่น 2 มีผู้เข้าร่วมจำนวน 50 คน ณ ห้องประชุมเฉวง ชั้น 3 วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี #IST#SRU ที่มาFacebook : International School of Tourism
โครงการศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถทางวิชาการทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติทักษะในงานด้านสาธารณสุขแบบองค์รวม ทำงานร่วมกับผู้อื่นในชุมชน ส่งเสริมสุขภาพและให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้ประกอบอาชีพ โดยนำหลักวิชาการจากที่เรียนในภาคทฤษฎีมาปรับใช้และบูรณาการงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์จริง จึงได้จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในรายวิชา SOH 0316 การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ สำหรับนักศึกษาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ชั้นปีที่ 3 โครงการศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ ในระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ แม่บ้านในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ปัญหาสุขภาพของคนทำงาน และเสริมสร้างทักษะในการทำงานด้านการวางแผน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำเวทีประชาคม การเขียนโครงการ การดำเนินงานโครงการ และการประเมินผลโครงการ ซึ่งเป็นการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นปณิธานสำคัญในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ผู้รับผิดชอบ : หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ชั้นปีที่ 3 จำนวน 18 คน และแม่บ้านในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 32 คน วัตถุประสงค์ […]
โครงการค่ายภาษาอังกฤษ (English Camp) สำหรับนักเรียน
ค่ายภาษาอังกฤษ English Camp สำหรับนักเรียนโรงเรียนพุนพินพิทยาคม
โครงการสร้างเครือข่ายวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ (Research Collaboration with National and International Networking Project Agenda)
โครงการสร้างเครือข่ายวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ (Research Collaboration with National and International Networking Project Agenda)โดยวิทยากรนายเอกมาศ วงศ์ไพรินท์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการวันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 เวลา 08.30-17.00 น. ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี มรส.และประชุมออนไลน์ผ่าน zoom
มรส. shake hand การประปาร่วมจัดการน้ำอย่างรู้คุณค่าลดการใช้ทรัพยากรพร้อมสู้ภัยแล้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) จับมือการประปาส่วนภูมิภาคสาขาสุราษฎร์ธานี ร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า (Demand Side Management : DSM) แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ผลิตแหล่งเก็บน้ำ พร้อมสร้างจิตสำนึกการใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า หวังลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและจัดการทรัพย์สิน เป็นประธานการประชุมร่วมกับ นายสานิษ กาญจนกุล ผู้ช่วยผู้จัดการประปาส่วนภูมิภาค (ชั้นพิเศษ) สาขาสุราษฎร์ธานี พร้อมผู้เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 ณ ห้องราชพฤกษ์ 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี มรส..ซึ่งในการนี้ การประปาส่วนภูมิภาค ได้ดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องกระจายน้ำภายในมหาวิทยาลัยเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ณ อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ อาคารทีปังกรรัศมีโชติ พร้อมร่วมกันวางแผนศึกษาสภาพปัจจุบันของรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้น้ำของบุคคล ศึกษาความเป็นไปได้ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภายในหน่วยงาน โดยใช้หลักการ 3R ซึ่งได้แก่ Reduce – ลดการใช้ (คิดก่อนใช้) Reuse – นำกลับมาใช้ซ้ำ (ใช้แล้วใช้อีก) […]
ประชุมร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาคสาขาสุราษฎร์ธานี ร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า (Demand Side Management : DSM)
วันนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและจัดการทรัพย์สิน เป็นประธานในการประชุมร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาคสาขาสุราษฎร์ธานี ร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า (Demand Side Management : DSM) แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ผลิตแหล่งเก็บน้ำ พร้อมสร้างจิตสำนึกการใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ณ ห้องราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี
การอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ตชด.
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินงานกิจกรรมเชิงรุกด้านการศึกษาให้แก่หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ตชด. กิจกรรม การใช้งานห้องสมุดอัตโนมัติเสนายัน ให้แก่ครูโรงเรียนตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ในระหว่างวันที่ 1-2 มีนาคม 2564 มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 26 คน หัวข้อ รายละเอียด ชื่อโครการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ตชด. กิจกรรม การใช้งานห้องสมุดอัตโนมัติเสนายัน ผู้รับผิดชอบ/คณะ/สาขาวิชา ศูนย์คอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา อบรมการใช้งานห้องสมุดอัตโนมัติเสนายัน วัตถุประสงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนตระเวนชายแดน และเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องสมุดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้ได้ตามเกณฑ์มาตฐานห้องสมุดโรงเรียน แหล่งทุนสนับสนุน งบประมาณบริการวิชาการ หน่วยงานที่ร่วมมือ โรงเรียนตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 จำนวน 11 โรงเรียน ระดับความร่วมมือ ระดับหน่วยงาน ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อระบุวันที่ การนำไปใช้ วันที่ 1-2 มีนาคม 2564 Web link อ้างอิงการดำเนินงาน SDGs Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ SDG 4
คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรส.ร่วมพลัง มรภ.สวนสุนันทา ผลิตผู้นำความคิดยุคใหม่ด้านพลังงาน
ผศ.ดร.ฐิติพงศ์ เครือหงส์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ รศ.ดร.ชัยศรี ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) ร่วมกัน 2 สถาบัน เพื่อผลิตผู้นำยุคใหม่ตาม โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๖๓ ในระหว่างวันที่ 4-5 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา:คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรส. ภาพ/ข่าวอดิสรณ์ เนาวโคอักษร นักประชาสัมพันธ์ รายงาน#สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี#มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีhttps://sru.ac.th/2021/03/09/mou-institutions-produce-newgeneration-leaders/
สัตวศาสตร์ มรส. ร่วมพัฒนาศักยภาพอาสาปศุสัตว์ด้านโรคพิษสุนัขบ้า สร้างจิตสำนึกการช่วยเหลือสังคมและร่วมเป็นจิตอาสา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) โดยสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถ่ายทอดความรู้ฝึกอบรมเพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพอาสาปศุสัตว์ด้านโรคพิษสุนัขบ้า ปีงบประมาณ 2564 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงมีความห่วงใยปัญหา โรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของชาติ และทรงมีพระประสงค์ให้โรคดังกล่าว หมดไปจากประเทศไทย โดยมี นายศักดาพร รัตนสุภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธาน และ ว่าที่ร้อยตรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณฐภัทร ถิรารางค์กูล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย มรส.กล่าวรายงาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมภูมิพัฒน์ อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.สำหรับสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยมีรายงานผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในปี พ.ศ. 2561 และไม่มีรายงานในปี พ.ศ. 2562-2563 ซึ่งโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์มีอุบัติการณ์ของโรคลดลงจากปี พ.ศ.2561 จำนวน 21 ตัว ปี พ.ศ.2562 จำนวน […]
การอบรมในหัวข้อ Human Factors and Non-Technical Skills in Aviation – Introduction
กิจกรรมดีๆของธุรกิจการบิน ราชภัฏสุราษฎร์ธานี “การอบรมในหัวข้อ Human Factors and Non-Technical Skills in Aviation – Introduction” ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2564 ในโอกาสนี้ วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว วิชาเอกธุรกิจการบิน ต้องขอขอบพระคุณวิทยากรทั้ง 2 ท่าน คุณเกษมสันต์ บริบูรณ์ ตำแหน่ง Aviation Safety Manager Thai Smile Airways และ คุณวิสิฐพล เสถียรจรัสกุล (พี่โอม รุ่นพี่การบินที่น่ารักต่อเราเสมอมา) ตำแหน่ง Pilot & Senior Aviation Safety Thai Smile Airwaysพวกเราชาวธุรกิจการบินราชภัฏสุราษฎร์ธานี จะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากวิทยากรมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ขอขอบพระคุณจาก ที่มาFacebook : International School of Tourism
มรส. พัฒนาความรู้ครูผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดโรงเรียน ตชด.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) โดยศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ในปีงบประมาณ 2564 กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการระบบห้องสมุดอัตโนมัติเสนายัน (Senayan) เมื่อวันที่ 1-2 มีนาคม 2564 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการระบบห้องสมุดอัตโนมัติเสนายัน (Senayan) ให้ครูผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดโรงเรียน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ซึ่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยหอสมุดและศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยมีหน้าที่ในการดูแลในส่วนของห้องสมุดโรงเรียน ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่าห้องสมุดของทุกโรงเรียนยังมีปัญหาด้านการจัดเก็บและการบริหารจัดการห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศจึงมีแนวคิดในการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “เสนายัน” เพื่อนำมาใช้งานการบริหารจัดการห้องสมุดของโรงเรียน ซึ่งระบบการทำงานของโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติประกอบด้วย 9 งานหลัก ได้แก่ 1. งานจัดการและบริหารระบบ 2. งานจัดทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ 3. งานควบคุมมาตรฐานการลงรายการ 4. งานสมาชิกห้องสมุด 5. งานยืม-คืน 6. งานควบคุมวารสาร 7. งานตรวจสอบตัวเล่ม และ […]
คณะพยาบาลศาสตร์เปิดการอบรมโครงการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน รุ่นที่ 2
พิธีเปิดการอบรมโครงการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน รุ่นที่ 2ในวันที่ 1 มีนาคม 2564 ณ อาคารอเนกประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม มรส. กล่าวเปิดพิธีและ รศ.ดร.วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้เข้าอบรมทุกท่าน
พยาบาลศาสตร์ มรส.ผนึกกำลัง รพ.สุราษฎร์ธานี จัดอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน รุ่นที่ 2
วันนี้(1 มี.ค. 64) ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี(มรส.) ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม มรส. เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน รุ่นที่ 2 เพื่อเตรียมบุคลากรด้านการพยาบาลฉุกเฉินอย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐานสูง โดยมี รศ.ดร.วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มรส. เป็นผู้กล่าวรายงาน:ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม มรส. กล่าวว่า การอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน รุ่นที่ 2 ในวันนี้สภาการพยาบาลมีนโบายเตรียมบุคลากรด้านการพยาบาลฉุกเฉินอย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐานสูง ให้สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาของสุขภาพประชาชนของประเทศ การจัดการอบรมหลักสูตรฯ ในครั้งนี้ใช้หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน ฉบับปรับปรุง 2563 ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถของพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉินใน 3 มิติ ได้แก่ ขีดความสามารถเชิงคลินิกในการจัดการพยาบาลส่งตัวผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติระหว่างโรงพยาบาล ขีดความสามารถเชิงกฎหมาย และจริยธรรมในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน และขีดความสามารถเชิงพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานและทีมโดยเน้นผลลัพธ์ทางการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน ดังนั้นสมรรถนะของพยาบาลจึงสำคัญยิ่งต่อผลลัพธ์ของผู้ป่วยฉุกเฉิน และระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จึงมีความต้องการพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉินของประเทศไทยทุกพื้นที่ทั้งในโรงพยาบาลขนาดเล็กและขนาดใหญ่เพื่อเป็นแกนหลักของทีมในทุกสถานพยาบาล:ด้านรศ.ดร.วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์ […]