Author: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

May
09

การส่งเสริม/สนับสนุน/พัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยทางเทคโนโลยีไฟฟ้าสู่การบริการวิชาการร่วมกับชุมชน

กิจกรรมพัฒนานวัตกรรมการปลูกผักระบบน้ำหมุนเวียนด้วยพลังไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ เป็นกิจกรรมที่ใด้จัดทำขึ้นตามโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราฎร์ธานี โดยมีอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรมร่วมกันทำกิจกรรม ซึ่งดำเนินการทำกิจกรรม ณ พื้นที่เกาะพะลวย ตำบล อ่างทอง อำเภอ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ในการปลูกผักด้วยระบบน้ำหมุนเวียนด้วยพลังไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ซึ่งใช้น้ำน้อยและได้ผักปลอดสารพิษสำหรับบริโภค โดยมี 1.วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการให้บริการการท่องเที่ยวของกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนเกาะพะลวยแบบครบวงจร 2.เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูกผักแบบใช้น้ำน้อยและขยายผลสู่ชุมชน 3.เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและป้องกันแกไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยว โดยดำเนินงานกิจกรรมพัฒนานวัตกรรมการปลูกผักระบบน้ำหมุนเวียนด้วยพลังไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน 2565 ผู้รับผิดชอบ : สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมาย : ..ส่งเสริมความรักสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้กับคนในชุมชนฐานราก วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาการให้บริการการท่องเที่ยวของกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนเกาะพะลวยแบบครบวงจร เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูกผักแบบใช้น้ำน้อยและขยายผลสู่ชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและป้องกันแกไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยว จัดโครงการเมื่อวันที่ : มกราคม – มิถุนายน 2565 สถานที่ : เกาะพะลวย ตำบล อ่างทอง อำเภอ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ : เกาะพะลวยเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกที่สามารถสร้างอาชีและรายได้ให้กับชุมชนได้

By คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | SDG 1
DETAIL
Dec
20

โครงการวิศวกรสังคมตำบลบางใบไม้

ชื่อโครงการ : โครงการวิศวกรสังคมตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้รับผิดชอบ : สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ประมาณ 10.14 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,376 ไร่ มีประชากรทั้งหมด 2,665 คน สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มมีคลองเล็กคลองน้อยไหลผ่านมีแม่น้ำหลายสายแยกออกมาจากลำคลอง ทำให้ตำบลบางใบไม้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปในนาม “ดินแดนแห่งคลองร้อยสาย” จากลักษณะของภูมิประเทศทำให้ ตำบลบางใบไม้ มีพรรณพืชหลากหลาย อันได้แก่ ลำพู โกงกาง ต้นจาก และพันธุ์ไม้น้ำจำนวนมากเจริญงอกงามเป็นทิวแถวสองฝั่งแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นแหล่งที่พักพิงของหิ่งห้อย และนกนานาพันธุ์ รวมทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำทุกชนิด สำหรับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในตำบลบางใบไม้เป็นไปอย่างเรียบง่าย ยึดประเพณีวัฒนธรรมแบบโบราณ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ รับจ้าง ข้าราชการ และสวนน้ำมันปาล์ม ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และ เนื่องด้วยตำบลบางใบไม้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มีความพร้อมทางทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่ยังคงคุณค่าไว้ควรแก่การมาเยือนของนักท่องเที่ยว และทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมใน การส่งเสริมการท่องเที่ยวเหมาะต่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียง ปัจจุบันถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการตอบรับของนักท่องเที่ยวมากขึ้น ประชาชนของตำบลบางใบไม้มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจ ชุมชนโดยใช้ชื่อว่า กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลบางใบไม้ มีองค์การบริหารส่วนตำบลบางใบไม้เป็นผู้สนับสนุนและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่งผลให้เกิดธุรกิจทางการท่องเที่ยวหลายประเภท […]

By คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | SDG 1 . SDG 2
DETAIL
Sep
30

โครงการบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี

ผู้รับผิดชอบ : คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ด้วยสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 รอบที่ 3 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ผ่านมา มียอดผู้ติดเชื้อในจังหวัดสูงเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ทำให้คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ไม่สามารถดำเนินการลงพื้นที่โครงการบริการให้คำปรึกษาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับมีมาตรการเข้มงวดจากจังหวัดในการจัดกิจกรรมและการออกนอกพื้นที่ ทางทีมผู้บริหารและผู้ประสานงานโครงการคลินิกเทคโนโลยีจึงปรับรูปแบบโครงการเป็นการช่วยรณรงค์การป้องกัน การลดสัมผัส และช่วยเยียวยาทางจิตใจแก่ประชาชนในจังหวัดเท่าที่จะทำได้ เช่นการ แจกเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ และหน้ากากแมสก์ สำหรับป้องกันโรคติดต่อทางลมหายใจให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้เคยรับบริการได้แก่ กลุ่มสตรีผลิตกะปิ ตำบลท่าเคย อ.ท่าฉาง กลุ่มเกษตรกรผลิตขนมกรุบ ตำบลท่าเคย อ.ท่าฉาง จำนวน 50 ราย นอกจากนี้เมื่อสถานการณ์โรคติดต่อ เริ่มผ่อนคลาย ทีมคลินิกเทคโนโลยีจึงมีแนวคิดจะจัดอบรมส่งเสริมอาชีพและการขายผลผลิตออนไลน์ เพื่อช่วยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด นำโดย ผศ.ดร.ฐิติพงศ์  เครือหงส์ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และ ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง ในช่วงเดือน สิงหาคม 2564 บูรณาการการทำงานร่วมกับ อว.ส่วนหน้า โดยการคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาแก้มลิงทุ่งปากขอ ต.ทรัพย์ทวี อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ในการขับเคลื่อนโครงการตามพระราโชบายฯของมหาวิทยาลัย มีการจัดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนพื้นที่ จำนวน 3 […]

By คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | SDG 2
DETAIL
Sep
20

โครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม 1. การถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนกิจกรรม 2. การเพิ่มมูลค่าของเสียเหลือใช้ทางการเกษตรกิจกรรม 3. การถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนขับเคลื่อนการเกษตรด้วย BCG model) ผู้รับผิดชอบ : ดร.วัชรี รวยรื่น ในการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ได้มีการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวนทั้งสิ้น 3 ครั้ง ให้กับชุมชนบ้านคลองเรือ หมู่ที่ 8 และ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 2 ครั้งให้แก่ชาวบ้านในชุมชนบ้านใหม่จัตวา หมู่ที่ 10 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยเฉลี่ยชุมชนละ 30 คน กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการของโครงการ ประกอบไปด้วย กิจกรรมการประเมินศักยภาพและคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรในชุมชนท้องถิ่น กิจกรรมการเพิ่มมูลค่าของเสียเหลือใช้ทางการเกษตร และ กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนขับเคลื่อนการเกษตรด้วย BCG model เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการผลิตไปสู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืนในชุมชน ขับเคลื่อนชุมชนการเกษตรที่เน้นการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดปริมาณของเสียและเพิ่มมูลค่าของเสียเหลือทิ้งจากชุมชนท้องถิ่น ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการในแต่ละหัวข้อได้รับความร่วมมือจากวิทยากรที่มีความรู้ในแต่ละด้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จากกิจกรรมการประเมิณศักยภาพและคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรในชุมชนท้องถิ่น พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีแหล่งทรัพยากรสำหรับกิจกรรมทางการเกษตรที่พร้อมจะสามารถส่งเสริมให้เป็นเกษตรอินทรีย์ ซึ่งผลจากการตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในพืชผักและผลิตทางการเกษตร จำนวน 11 ชนิด ให้ผลการตรวจสอบการปนเปื้อนอยู่ในระดับที่ปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ […]

By คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | SDG 1 . SDG 2
DETAIL
Aug
23

สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. 2564

ชื่อโครงการ : สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ.2564 ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายวิชาการและฝ่ายบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กำหนดจัดโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 18-20 สิงหาคม 2564 ณ อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในรูปแบบออนไลน์ โดยการสนับสนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน ครูและผู้สนใจในเขตพื้นที่การศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาตนเองทางด้านวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาความคิดที่มีเหตุผล สร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ มีทักษะสำคัญในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ กิจกรรมที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2564 ดำเนินการในรูปแบบออนไลน์ โดยมีกิจกรรมการประกวด การแข่งขัน และจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ พิธีถวายพานพุ่มสักการะ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” นิทรรศการเทิดพระเกียรติ และพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น […]

By คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | SDG 4
DETAIL
Aug
09

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการผลิตเจลแอลกอฮอล์และครีมกันแดด

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการผลิตเจลแอลกอฮอล์และครีมกันแดด รหัสกิจกรรม 401088 ภายใต้โครงการโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รหัส โครงการ 0429644101004 ได้ดำเนินการในไตรมาสที่ 4 ซึ่งเลื่อนมาจากไตรมาสที่ 1 ด้วยสถานการณ์โรค ระบาดจากไวรัสโคโรนา 2019 และกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว โดยเปลี่ยนรูปแบบจากบริการวิชาการภายนอก เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การผลิตเจล และสเปรย์แอลกอฮอล์” ให้กับนักศึกษาในรายวิชา SCH0713 การผลิตเครื่องสำอาง จำนวน 11 คน แต่นักศึกษาที่เข้าร่วมได้จริง จำนวน 9 คน โดยสังกัดสาขาวิชาเคมี และสาขาวิชาดนตรีศึกษาจำนวน 7 และ 2 คน ตามลำดับ เจลและสเปรย์แอลกอฮอล์ที่ผลิตได้จำนวน 410 และ 350 ขวด รวมทั้งสิ้น 760 ขวดสำหรับแจกจ่ายโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 5 โรงเรียน ผลประเมินความคิดเห็นด้านความรู้ความเข้าใจ และการนำไปใช้ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นหลังการอบรม […]

By คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | SDG 3 . กิจกรรม
DETAIL
Jul
20

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร

วันที่ 17-18 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ดร.ชุติมา เสพย์ธรรม หัวหน้าโครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร พร้อมทีมวิทยากรจากสาขาวิชาเคมี จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ดร.นิภาภรณ์ มีพันธุ์ ผศ.ดร.อรภรณ์ บัวหลวง และ ดร.อานนท์ ชูแก้ว ได้ร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้การแยกเนยโกโก้และการทำผลิตภัณฑ์จากเนยโกโก้ ได้แก่ สบู่น้ำมันธรรมชาติ ลิปปาล์ม และโลชันบำรุงผิว และวิทยากรจากคณะวิทยาการจัดการ ดร.อนุรักษ์ บิลนุ้ย ให้ควมรู้ในหัวข้อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบตราสินค้าและช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และณ วิสาหกิจตลาดชุมชนหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ผู้รับผิดชอบ : ดร.ชุติมา เสพย์ธรรม กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรจากกลุ่มวิสาหกิจตลาดหลังสวน อ.หลังสวน จ.ชุมพร จำนวน 20 คน วัตถุประสงค์ : เพื่อแยกเนยโกโก้จากเนื้อโกโก้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่น้ำมันธรรมชาติ โลชั่นบำรุงผิว และลิบปาล์ม จากเนยโกโก้ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การแยกเนยโกโก้และการทำผลิตภัณฑ์จากเนยโกโก้ […]

By คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | SDG 1 . กิจกรรม
DETAIL
Mar
16

โครงการศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถทางวิชาการทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติทักษะในงานด้านสาธารณสุขแบบองค์รวม ทำงานร่วมกับผู้อื่นในชุมชน ส่งเสริมสุขภาพและให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้ประกอบอาชีพ โดยนำหลักวิชาการจากที่เรียนในภาคทฤษฎีมาปรับใช้และบูรณาการงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์จริง จึงได้จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในรายวิชา SOH 0316 การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ สำหรับนักศึกษาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ชั้นปีที่ 3 โครงการศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ ในระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ แม่บ้านในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ปัญหาสุขภาพของคนทำงาน และเสริมสร้างทักษะในการทำงานด้านการวางแผน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำเวทีประชาคม การเขียนโครงการ การดำเนินงานโครงการ และการประเมินผลโครงการ ซึ่งเป็นการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นปณิธานสำคัญในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ผู้รับผิดชอบ : หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ชั้นปีที่ 3 จำนวน 18 คน และแม่บ้านในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 32 คน วัตถุประสงค์ […]

By คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | SDG 3
DETAIL
Dec
25

โครงการบริการวิชาการทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

วันที่ 23 ธันวาคม 2563 อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้ไปบริการวิชาการแก่ชาวบ้าน ณ มัสยิดรียาดุนมุมีมีนในชุมชนบ้านท่าสน โดยนำทักษะวิชาช่างเบื้องต้นมาประดิษฐ์ถังที่ใช้ในการหมักขยะเปียกจากครัวเรือนของตนเอง  อาจารย์และนักศึกษาได้สาธิตการทำถังหมักและให้ชาวบ้านลงมือทำเอง เมื่อได้ถังหมักแล้วนำกลับไปที่บ้าน ตั้งไว้บริเวณแปลงปลูกผัก เมื่อมีขยะเปียกเช่นเศษผักผลไม้ หรือเศษอาหาร ให้ทิ้งลงในถังแล้วปิดฝา เศษเหล่านี้จะถูกหมัก จนเน่าเปี่อย มีน้ำไหลออกจากบริเวณก้นถังแล้วซึมลงดินใช้เป็นปุ๋ยปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภคเองได้ ผู้รับผิดชอบ : ผศ.ดร.ทัศนีย์ ทองก้านเหลือง กลุ่มเป้าหมาย : ชาวบ้านในชุมชนบ้านท่าสน จำนวน 25 ครัวเรือน และนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 กลุ่มเรียน 6240.041 จำนวน 25 คน วัตถุประสงค์ :เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญงานด้านอุตสาหกรรมและระบบการผลิตเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ด้านช่าง การฝึกนิสัยช่าง นำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำหลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหกรรมให้เป็นที่รู้จัก จัดโครงการเมื่อวันที่ : 23 ธันวาคม 2563 สถานที่ : ณ มัสยิดรียาดุนมุมีมีน(บ้านท่าสน) หมู่ที่ 7 ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ : […]

By คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | SDG 2
DETAIL
Oct
26

โครงการสร้างเสริมสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนและวัด ตามมาตรฐานสธ.

มรส.นำนศ.ลงภาคสนามเร่งสร้างสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมโรงเรียน-วัด ตามมาตรฐาน สธ.

By คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | SDG 3 . กิจกรรม
DETAIL

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (SURATTHANI RAJABHAT UNIVERSITY)

272 ถ. สุราษฎร์-นาสาร ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100
โทรศัพท์ : 077 913333 โทรสาร : 077 913348
อีเมล์ : info@sru.ac.th

มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินด้วยภูมิปัญญาให้เป็นพลัง ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

TOP