คบว.หนุนสุดแรง หวังยกระดับเศรษฐกิจชุมชน”พลังเป็ดสุขสำราญ”
จัดอบรมปฏิบัติการการจัดทำบัญชีครัวเรือนและการเลี้ยงเป็ด โดยมี คณาจารย์จากคณะวิทยาการจัดการ คือ อาจารย์ ดร.เนตรนภา รักษายศ และอาจารย์นงลักษณ์ ผุดเผือก เป็นวิทยากร ซึ่งเนื้อหาในการอบรม คือ แนวคิดและวิธีการจัดทำบัญชีครัวเรือน นอกจากนี้ ได้มีการอบรมเรื่องการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย สำหรับการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 12 พฤษภาคม 2565
คบว.ขับเคลื่อนโครงการ PLC มุ่งส่งเสริมสมรรถนะจิตวิทยาสำหรับครูตชด.ฯ
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโดยเน้นสมรรถนะครูโดยผ่านกระบวนการจิตศึกษา เมื่อเวลา 08.30 น. (9 พฤษภาคม 2565) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยเน้นสมรรถนะครูโดยผ่านกระบวนการจิตวิทยาภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูอ(PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะจิตวิทยาสำหรับครูและทักษะการอ่านออกเขียนได้ของผู้เรียน ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัฎจรี เจริญสุข เป็นประธานในการเปิดอบรม ซึ่งมีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 เข้าร่วม จำนวน 5 โรงเรียน คือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตร โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านพันวาล โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านสวนเพชร โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะแบกงาม(ตันตระเธียรอุปถัมภ์) และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านควนสามัคคีซึ่งได้รับเกียรติจาก ว่าที่ ร.ต.อัมโร รักช่วย ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 88 ดร.อัญชลี แสงอาวุธ อาจารย์อรรถกร ภัทรจิติกรกุล และ ผศ.พจนาถ ขอประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นวิทยากรทั้งนี้เพื่อให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนทัศน์ชุมชนการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ […]
คบว.มรส.ขับเคลื่อนกลไกภาคีเครือข่าย มุ่งพัฒนาพื้นที่สาธารณะ
พุ่งเป้า 15 พื้นที่ สุราษฎรธานี 10 พื้นที่ ชุมพร 3 พื้นที่ และระนอง 2 พื้นที่ เมื่อเวลา 09.00 น.(3 พฤษภาคม 2565)โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการจัดประชุมภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน โดยมี ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมกลไกและระบบสนับสนุนการสร้างภาคีเครือข่ายในระดับอำเภอ ระดับตำบลและชุมชนอ เพื่อการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ เชื่อมโยงนโยบายและการบริหารจัดการการทำงานในรูปแบบเครือข่ายภาคี โดยมีพื้นที่เป้าหมายจำนวน 15 พื้นที่ ประกอบด้วยจังหวัดสุราษฎร์ธานี 10 พื้นที่ จังหวัดชุมพร 3 พื้นที่ […]
คบว.หนุน LLC จัดอบรม หลักสูตรระยะสั้น พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ รุ่นที่ 12
เมื่อวันที่ 20-21 มีนาคม 2564 เวลา 8.30 – 16.30 น. ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต (LLC) ภายใต้การบริหารจัดการโดย โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กำหนดจัดกิจกรรมโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการหลักสูตร “พระราชบัญญัติและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560” รุ่นที่ 12 โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณธันยพร คงเพชร คลังจังหวัดกระบี่ (ผู้อำนวยการเฉพาะด้านวิชาการคลังสูง) ซึ่งจัดกิจกรรมดังกล่าวมีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมการอบรม เช่น โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพื้นที่ใกล้เคียง เป็นต้น โดยจัดขึ้น ณ โรงแรมบรรจงบุรี โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม ด้าน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีเจตนารมณ์ให้ผู้เข้าร่วมรับการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและนำไปใช้ประกอบการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้สามารถนำไปพัฒนาองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คบว.ร่วมกับคณะครุศาสตร์ ขับเคลื่อนกลไกพัฒนาชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู(PLC)
“มุ่งเสริมสร้างสมรรถนะจิตวิทยาสำหรับครูและทักษะการอ่านออกเขียนได้” โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัด”อบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคและการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาสู่ผู้เรียน ตชด.” เมื่อวันที่ 12-13 และ 19-20 มีนาคม 2565 ทางระบบออนไลน์ ให้แก่ครูโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมาย 11 โรงเรียน คือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านกอเตย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านยางโพรง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองวาย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเทคนิคมีนบุรีอนุสรณ์ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตร โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านพันวาล โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะแบกงาม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านควนสามัคคี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สิริราษฎร์ และ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้าน สวนเพชร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรศักดิ์ แซ่โค้ว คณบดีคณะครุศาสตร์ เป็นประธานในการเปิดการอบรม ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.นาฏฤดี จิตรรังสรรค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสุจิปุลิ และนายฉัตรชัย สุขุม ครูชำนาญการพิเศษกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์พร้อมด้วย ดร.อัญชลี แสงอาวุธ รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เป็นวิทยากรในการอบรม
เทศบาลเมืองนาสารหารือทำแผนแม่บทแปรรูปเงาะ พร้อมแผนแม่บทในการพัฒนา เชื่อมโยงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันที่ 1 ก.พ. 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นายรณฤทธิ์ บำรุง รองนายกเทศมนตรีเมืองนาสาร พร้อมด้วยที่ปรึกษาเทศบาลเมืองนาสาร และคณะทำงานเทศบาลเมืองนาสาร เข้าพบ ผศ.ดร.เสนห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม พร้อมด้วย นายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อปรึกษาหารือการจัดทำแผนการจ้างเหมาสำรวจผลกระทบ และแผนแม่บทการพัฒนาโรงงานแปรรูปผลไม้ และการก่อสร้างเตาเผาขยะในพื้นที่ เชื่อมโยงเครือข่ายตลาดกลางสินค้าทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผศ.ดร.เสนห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า จากการที่ ได้ปรึกษาหารือมหาวิทยาลัยฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งพร้อมได้มอบหมายให้โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการฯ ประสานงาน เพื่อวางกรอบการทำงานและศึกษาบริบทพื้นที่เบื้องต้น พร้อมนัด ผู้ดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประชุมในวันที่พฤหัสบดี 3 ก.พ.2565 เพื่อกำหนดกรอบการทำงานศึกษาผลกระทบทั้ง 2 กิจกรรมและผู้รับผิดชอบสรุปรายละเอียด เพื่อส่งแบบรายการดำเนินงาน ขอบข่ายการทำงานให้กับทางเทศบาลเมืองนาสารต่อไป
อพ.สธ-มรส.พัฒนาหลักสูตรภูมิปัญาท้องถิ่น สืบทอดภูมิปัญญาการอนุรักษ์ข้าวหอมไชยา
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 ทีมงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำเสนอสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI พร้อมประชาสัมพันธ์นวัตกรรม E-Learning ดร.ธวัช บุญแสง ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยในช่วงเดือนที่ผ่านมา ผู้คณะกรรมการดำเนินงานได้เก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาข้าวหอมไชยาเพื่อนำมาพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา อำเภอไชยา รวบรวม และสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และผลิตนวัตกรรม CAI จำนวนไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง และได้จัดการอบรมปฏิบัติการในการผลิตนวัตกรรมสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI และนวัตกรรม E-Learning ณ คณะครุศาสตร์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 สำหรับวันนี้ทางคณะกรรมการดำเนินงานโครงการได้เชิญสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานีทั้ง 3 เขต มาเพื่อนำเสนอสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI และนวัตกรรม E-Learning เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ และใช้ประโยชน์จากงานที่ อพ.สธ.-มรส.ได้ดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 ต่อไป
คบว.มรส.ระดมสมองเครือข่ายภาคเอกชน (Kick off)
โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในเขตชนบท พื้นที่ตำบลเกาะพะลวย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เพื่อศึกษาอัตราการเกิดก๊าซชีวภาพจากเศษปลาพัฒนากระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษปลาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพสู่ชุมชน
คบว.ขับเคลื่อนศูนย์LLC จัดโครงการเทคนิคและศิลปะการพูดต่อหน้าชุมชน รุ่นที่ 1
เมื่อวันที่ 28-29 สิงหาคม 2564 เวลา 8.30 – 16.30 น. ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต (LLC) ภายใต้การบริหารจัดการโดย โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กำหนดจัดโครงการเทคนิคและศิลปะการพูดต่อหน้าชุมชน รุ่นที่ 1 ผ่านระบบออนไลน์ ได้รับเกียรติจากนายปฐภพ สุคนธจร หัวหน้างานประชาสมพันธ์ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอาจารย์ ดร.สุพัฒพงษ์ แย้มอิ่ม อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นวิทยากร ซึ่งการอบรมดังกล่าวเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจ หลักการพัฒนาเทคนิคการพูด ให้นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่น และเสริมสร้างบุคลิกภาพให้กับตนเองได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ต่าง ๆ
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดึงวัฒนธรรม “มะพร้าวฝังรก” ในอดีตสู่การอนุรักษ์มะพร้าว
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ชูมะพร้าวเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ร่วมสร้างจิตสำนึก สืบสาน ส่งเสริม สร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ ต่อยอดพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบนเกาะพะงัน